วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทกลอนสอนใจ

IMG_20170308_160444 (Copy)




ขอน้อมรำลึกถึงพระคุณ ไต้ฮงกงโจวซือ 

วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

กลอนชีวิต ไต้ฮงกงโจวซือ ชีวิตดุจภาพลวงตา ดุจฟองน้ำ ดุจไฟฟ้า เวลาผ่านไปรวดเร็วดุจลูกไฟจากหินตะบันไฟ ตะวันตกเขาชั่วเพียงเวลาดีดนิ้วใบหน้าที่ยิ้มแย้มเมื่อหลายปีก่อน ฉับพลันเมฆดำทมึนปกคลุมว่ากลับบ้านเก่า พริบตาเวลาก็ผ่านพ้น เมื่อหลุดมือทำไมจะไม่ลาลับเมื่อไม่เอาจิตแท้บำเพ็ญให้ตื่นกลับก็จะหลงทาง ไม่รู้ทิศที่สุดชีวิตเหมือนผู้เดินทาง แค่พริบตาตะวันก็บ่ายคล้อยแล้วเป็นสิ่งที่ข้าเคยประสบผ่าน ยามเด็กเห็นเลือนลางอยู่ตรงหน้าวันวานเจ็บปวดพ่อ - แม่คืนสู่ยมโลก ตนเองก็หมุนเวียนมาเป็นลูก - หลาน ข้าร้องไห้ถึงบิดา -มารดาก็จากไปแล้ว ลูก ๆ หลาน ๆ ข้าก็จำจากที่สุดชีวิตคนสุดยากจะคะเน มีเฒ่าไหนไม่ต้องร่ำลามีความมุ่งหวังเวลาก็ผ่านไปเปล่า ๆ เหมือนกับว่ามีนาก็ปล่อยให้รกร้าง มีเงินมากมายก็ไร้ประโยชน์กลาย หลงไหลที่ไหนได้เสียโอกาสไปยากที่จะให้เวลา หวนกลับคืน ยามเจริญ

รุ่งเรืองใครทะนงเหมือนได้ใจจงจัดแจงอนาคตอย่าทอดทิ้ง วโรวาท ไต้ฮงกงโจวซือ พลันได้ยินเสียงมนต์กระทบโสต เช้าวันนี้เปิดโอษฐ์จิตนวกะ ขยันขันแข็งฝากคำให้จำจดเล่าธรรมบทไฉนไม่ ตั้งอาสน์ ชุมนุมมหาบัณฑิตเปิดอบรมยอดเขาคมทางวก - วนเปลืองแรงตัดสู่ทางอริยะจงระวังหนักเข้าใจชัดกบิลเมืองใจอย่าท้อ หยิบ ฉวยอมฤตทิพย์หนึ่งกา หยินหยางดุจเตาฟืนไม้ถ่านใครกันขับเคลื่อนคุมรอบกาลฝึกสำเร็จจักวาลฟ้าปาง ก่อน ร้องตะโกนเชิญสุราบนเมฆขาว ภูยอดหนาวแมนสรวงเมาคลื่นธารเหล่าทพเซียนต่างแซ่ซ้องบรรพจารย์ ศิษย์ - อาจารย์ร่วมร้องบรรเลงเพลง ราตรีหนึ่งเนิ่นนานสำหรับผู้นอนไปหลับ ระยะทางหนึ่งโยชน์ยาวไกลสำหรับผู้อ่อนล้าแล้ว สังสารวัฏยาวไกลสำหรับผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรมชีวิตนี้สั้นนัก - ชีวิตนี้น้อยนัก

วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2557

วัญจกธรรม(ธรรมเป็นเครื่องหลอกลวง)38 ประการ

EImgBy.jpg





















๑. ความพอใจในกาม ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นอปฏิกูลสัญญา
๒. ความพยาบาท ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นปฏิกูลสัญญา
๓. ถีนมิทธะ (ความท้อถอย ง่วงเหงา) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นสมาธิ
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นการปรารภความเพียร
๕. กุกกุจจะ (ความรำคาญใจ) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา
๖. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีการพิจารณาทั้งสองฝ่าย
๗. ความหลงพร้อม (ไม่รู้) ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่น่า ปรารภนาและไม่น่าปรารถนา
๘. มานะ (ความสำคัญตน) ย่อมลวง โดยความไม่ดูหมิ่นตน เหมือนกับว่าเป็น ผู้รู้จักตน
๙. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ย่อมลวง ด้วยการถือเอาเหตุอันสมควร เหมือน กับว่ามีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
๑๐. ความเป็นผู้ไม่ถึงความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็น ปราศจากความกำหนัดยินดี
๑๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การประกอบเนืองๆ ซึ่งความหมกมุ่นในกาม) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเสพในสิ่งที่
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้
๑๒. ความเป็นผู้มีปกติไม่แบ่งปัน ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์
๑๓. มิจฉาอาชีวะ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติแบ่งปัน
๑๔. ความเป็นผู้มีปกติไม่สงเคราะห์ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยการ ไม่คลุกคลี
๑๕. ความคลุกคลีที่ไม่สมควร ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติสงเคราะห์
๑๖. ปิสุณาวาจา (กล่าวส่อเสียด) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้กล่าวคำจริง
๑๗. ความเป็นผู้ใคร่ในสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ไม่กล่าวส่อเสียด
๑๘. ความเป็นผู้ทำการประจบ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้กล่าวถ้อยคำอัน เป็นที่รัก
๑๙. ความเป็นผู้ไม่ชื่นชมยินดี (กับผู้อื่น) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้พูดพอประมาณ
๒๐. มายาและสาไถย ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติชื่นชมยินดี (กับผู้อื่น)
๒๑. ผรุสวาจา (กล่าวคำหยาบ) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้พูดข่ม
๒๒. ความเป็นผู้เพ่งโทษผู้อื่น ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ติเตียนบาป
๒๓. ความตระหนี่ตระกูล ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีความประพฤติเกื้อกูลต่อตระกูล
๒๔. ความตระหนี่อาวาส ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่เพื่อให้อาวาสตั้งอยู่ตลอดกาลนาน
๒๕. ความตระหนี่ธรรม ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นการรักษาพระธรรมไว้ให้ดำรงมั่น
๒๖. ความเป็นผู้ยินดีในการพูดคุย ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ยินดียิ่งในการแสดงธรรม
๒๗. ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ ไม่กล่าวคำหยาบและกระทำการอนุเคราะห์แก่หมู่คณะ
๒๘. ความเป็นผู้ยินดีในการงาน ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่ซึ่งบุญ
๒๙. ความเร่าร้อนแห่งจิต ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นการสลดสังเวช
๓๐. ความเป็นผู้ไม่พิจารณาอย่างรอบคอบ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มากไปด้วยศรัทธา
๓๑. ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
๓๒. ความเป็นผู้ไม่รับเอาคำพร่ำสอนของครูทั้งหลายโดยเคารพ ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีตนเป็นใหญ่
๓๓. ความไม่เคารพในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย ย่อมลวงเหมือน กับว่ามีธรรมเป็นใหญ่
๓๔. ความดูหมิ่นตนและดูหมิ่นธรรม ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีโลกเป็นใหญ่
๓๕. ราคะ (ความยินดีติดข้อง) ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีเมตตา
๓๖. ความเศร้าโศก ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีความกรุณา
๓๗. ความร่าเริง ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีเป็นผู้อยู่ด้วยมุทิตา
๓๘. ความเป็นผู้ทอดทิ้งฉันทะ (ความพอใจ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยอุเบกขา 



เรื่องเหนือสามัญวิสัยอิทธิป... by เจริญ เจริญสุข on Scribd



วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

อัตตตา และ ธรรมกาย จากมุมมอง พุทธศาสนานิกายวัชรยานตอนที่ 1




คำอธิบายในเรื่องอัตตาและธรรมกาย จากมุมมองพุทธศาสนานิกายวัชรยาน หมู่นี้มีการพูดเรื่องอัตตา อนัตตากันบ่อย จนถึงกับบางสำนักอวดอ้าง ว่าพระนิพพานเป็นอัตตาก็มี ในที่นี้ จักไม่ขอไปแสดงวิวาทะกะใคร จะขอพิจารณาถึงเนื้อหาสาระ หรือแก่นของพระพุทธศาสนาในเรื่องอริสัจสี่เสียก่อน ว่าทำไมพระพุทธ องค์จึงทรงเน้นในเรื่องนี้ คำตอบก็คือมนุษย์ต้องการความสุข และต้องการเอาชนะความทุกข์โดย เราต้องรู้ว่าสุขกับทุกข์เกี่ยวข้องกันอย่างไรและความทุกข์เกิดขึ้นได้อย่าง ไร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คืออริยสัจสี่ชี้แจงแสดงให้เห็นเหตุปัจจัยที่โยงความ ทุกข์ไปถึงความสุข อริยสัจหรือความจริงที่แท้ อธิบายจำเพาะเจาะจงไปถึงการต่อเนื่องกัน ของสรรพสิ่งอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องอ้างอิงถึงพระผู้สร้าง หรือ อำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ทหัศจรรย์จากภายนอก ที่อ้างว่าควบคุมวิถีชีวิต อริยสัจมักแสดงออกเป็นดังข้อความสี่ข้อคือ
๑ ) ให้รู้เท่าทันความจริงในเรื่องของความทุกข์
๒ ) ให้รู้เท่าทันที่มาของความทุกข์
๓ ) ดับทุกข์เสียได้
๔ ) ด้วยมรรควิธีอันแยบคาย ทุกคนที่ต้องการความสุข และต้องการเอาชนะความทุกข์ ย่อมอาจประ พฤติปฏิบัติให้ลุล่วงไปได้ การที่จะปฏิบัติตนให้ล่วงความทุกข์เสียได้ จำต้องเข้าใจในเรื่องตัวหรือ อัตตา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือบุคคลที่ได้รับความทุกข์คือตัวเรา และคนที่ ต้องการเอาชนะความทุกข์คือตัวเรา ยังเหตุที่ก่อให้เกิดความทุกข์ก็อยู่ใน ตัวเรา เพราะฉะนั้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเวไนยนิกรในชมภูทวีป เมื่อสองพันห้าร้อยปีมานี้ พุทธทัศนะที่เกี่ยวกับตัวเรา หรือตัวตน จึงต่าง จากเจ้าสำนักอื่น ๆ ในยุคนั้นสมัยนั้นทั้งสิ้น กล่าวคือ พุทธศาสนาปฏิเสธ อัตตาหรือตัวตนที่คงที่ถาวรอย่างไม่แปรเปลี่ยน ดังที่เรียกกันว่าจิตบ้าง วิญญาณบ้าง บ้างก็ว่าจิตหรือวิญญาณนี้เวียนว่ายตายเกิด ข้ามภพข้ามชาติ เป็นตัวกำหนดการกระทำทั้งหมด อย่างมีสภาพที่เหนือร่างกาย นอกวงการของพุทธศาสนา ถือว่าอัตตาหรือจิตหรือวิญญาณเป็นตัวตนที่ อยู่เหนือนามและรูป หรืออยู่พ้นไปจากร่างกาย ( รูป ) ความรู้สึก ( เวทนา )

ความจำได้หมายรู้ ( สัญญา ) ตราบจนกระบวนและอารมณ์ต่าง ๆ (สังขาร) ตลอดจนการตัดสินใจประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ( วิญญาณ ) ทุกลัทธินิกายในพุทธศาสนาปฏิเสธเรื่องอัตตา หรือตัวตนที่คงสภาพอย่าง ถาวร อยู่นอกเหนือนามและรูป แต่บางนิกายในพุทธศาสนาก็มีทัศนะแผก แตกต่างกันไปในเรื่องตัวตน ซึ่งแฝงเข้ามาปนอยู่ในนามและรูปอย่างไร เช่น บางนิกายถือว่าปัญจขันธ์ทั้งหมดนี้แลคืออัตตา ตราบที่มีอุปาทานยึดมั่นถือ มั่นอยู่ในตัวตน ส่วนบางนิกายนั้นถือว่าอัตตาแนบสนิทอยู่กับนาม เป็นต่าง หากออกไปจากรูป และบางนิกายถือว่าวิญญาณขันธ์ตัวนั้นแลคืออัตตา ( ตราบที่มีอุปาทานติดอยู่ ) ดังใช้คำว่า อาลัยวิญญาณ แทนคำว่า อัตตา ทางด้านลัทธินิกายปราสังฆิกะ มาธยมิกะ ซึ่งพวกธิเบตถือว่า

เป็นคำสั่งสอน หลัก ถือว่ามีอัตตาเป็นผู้เสวยผลหรือเป็นตัวที่ได้ประสบการณ์จากขันธ์ห้า แต่ก็พูดไว้ได้ไม่ชัดเจนว่าอัตตาแฝงอยู่ในขันธ์ห้าตรงไหน อย่างไรบางพวก จึงบอกว่าอัตตาอยู่นอกเหนือขันธ์ห้าออกไป แต่ก็ไม่อาจหาอัตตาได้พบ จึงจำต้องปฏิเสธอัตตาที่ว่านี้ กล่าวคืออัตตาเกิดมีขึ้น เพราะการติดยึดใน ขันธ์ห้านั่นเอง อัตตาจึงเป็นเพียงสิ่งสมมุติ แล้วยึดถือเอาเป็นเรา เป็นของ เรา เป็นตัวกู ของกู ท่านนาคารชุน ซึ่งเป็นศาสดา เจ้าลัทธิปราสังฆิกะ มาธยมิกะ รจนาไว้ใน คัมภีร์รัตนาวลี ของท่านว่า บุคคลคนหนึ่งนั้น หาใช่ธาตุทั้งหกที่ก่อให้เกิด เป็นคนไม่ คือไม่ใช่ธาตุดิน ไม่ใช่ธาตุน้ำ ไม่ใช่ธาตุไฟ ไม่ใช่ธาตุลม ฯลฯ และจะว่าธาตุทั้งหมดนี้ร่วมกันเป็นบุคคลหรือตัวตน ก็ไม่ใช่อีก พร้อมกัน นั้นบุคคลหรือตัวตนก็ไม่ได้ปรากฏนอกเหนือไปจากธาตุทั้งหก กล่าวคือ บุคคลคือตัวตนไม่ใช่ธาตุทั้งหมดที่รวมตัวกันขึ้น และไม่ใช่ธาตุหนึ่งใดใน ธาตุทั้งหกนั้น ธาตุทุกชนิดเอามาแยะแยะได้เป็นส่วน ๆ โดยไม่อาจหาตัว ตนหรืออัตตาได้

พบ ก็เมื่อธรรมชาติของอัตตาหรือตัวตนหาไม่ได้ในธาตุ หนึ่งธาตุใด จึงเหลือไว้ให้สมมุติได้เพียงว่ามีอัตตามีขึ้น เพราะความไปติด ยึด หรือสมมุติให้มีให้เป็น เพื่อความสะดวกในการเรียกขาน แล้วไปติดยึด ในสมมุตินั้น ๆ ดังกับว่ามันเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา ถ้าจะถามว่าเหตุใดพุทธศาสนาจึงเน้นในเรื่องแยกแยะอะไร ๆ ให้เห็นถึง ความไม่มีตัวตน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เข้าใจว่าตัวตนนั้นเป็นเจ้าการหรือตัวตนที่ ได้รับปะสบการณ์ ข้อนี้นับว่าสำคัญ โดยขอให้เราพิจารณาประสบการณ์ ของเรา เช่นความรู้สึกเศร้าเกิดขึ้น เพราะประสบการณ์บางอย่าง แล้วตัณ หาหรือความต้องการบางอย่างย่อมเกิดขึ้นโดยมโนวิญญาณ หรือในความ คิดอันหยาบหรือละเอียด จนเกิดการตัดสินใจทำการนั้น ๆ กล่าวอีกนัย หนึ่งก็คือตัณหาหรือความต้องการผลักดันให้กลายเป็นคำพูดหรือการกระ ทำ ทั้งยังเกิดการยึดมั่นถือมั่นว่า เรา เป็นคนพูด เรา เป็น

คนทำ เรา หรือ กู หรือ อัตตา หรือ ตัวตน ที่ว่านี้เกิดขึ้นจากการยึดมั่นถือมั่น และลึก ๆ ลงไปแล้ว ก่อให้เกิดความทุกข์ ยิ่งยึดมั่นถือมั่นมากเท่าไร ก็ทุกข์มากเท่า นั้น เช่นถ้าอะไรมาขัดกับการยึดมั่นถือมั่นในตัวเรา เราก็โกรธ จนอาจเป็น คนโทสจริตอย่างรุนแรงเอาเลยก็ได้ อุบายในทางพุทธศาสนานั้น สอนให้เรารู้เท่าทันว่า ถ้าไปติดยึดในเรื่อง ตัว ตน ตัวเรา ตัวกู แล้วผลย่อมเป็นไปในทางความทุกข์ เช่นโทสคติ ดังกล่าว มาแล้วนี้ จะแก้ไขให้ความคิดเป็นกุศลได้หรือไม่ คำตอบก็คือถ้า ตัวกู หรือ ตัวตน เป็นใหญ่เป็นประธาน อย่างมีการติดยึด มากเพียงไร ความทุกข์ก็ทับถมมากขึ้นเพียงนั้น

เมื่อวิเคราะห์เจาะลึกลงไป ก็จะเห็นได้ชัดว่า การติดยึดในตัวตนหรือใน ตัวกู ( อัตตา ) จนกลายเป็นความสำคัญยิ่งขึ้นเท่าไร ก็จะให้โทษยิ่งขึ้นเท่า นั้น หากหันมาพิจารณาตามกฏเกณฑ์ของปัจจยาการในทางพุทธศาสนา โดยไม่ติดยึดที่ตัวตนหรืออัตตาแล้งไซร้ ก็จะเห็นว่าอะไร ๆ เป็นผลพวง ซึ่งกันและกัน ตามเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตนหนึ่งใดมาคอยบงการได้ ถ้าตราความข้อนี้ไม่ได้ เมื่อต้องการความสุข เพื่อหลีกเลี่ยงหรือเอาชนะ ความทุกข์ ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่าผลของกิจกรรมต่าง ๆ นั้นมาแต่เจตนา แม้การกระทำบางครั้งจะไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อน หากเกิดขึ้นอย่างอย่างทันที ทันใดแสดงว่าจิตไม่ได้เป็นกุศลหรืออกุศล ท่านว่าเป็นอัพยากฤต ไม่ก่อ ให้เกิดสุขหรือทุกข์ ดังที่ท่านใช้คำว่า อทุกขมสุข แท้ที่จริง ถ้ามองลึกลงไป จะไม่เห็นข้อชี้ชัดลงไปในทางที่แตกต่างกันระ หว่างการกระทำนัยบวกกับนัยลบ แต่เพราะเราต้องการความสุข คิดว่า ความสุขเป็นนัยบวก จึงไปกำหนดว่าการกระทำใด ๆ และความจงใจใด ๆ ที่มุ่งความสุข

ย่อมเป็นไปตามนัยบวก ในขณะที่อะไร ๆ ที่เป็นตัวก่อความ ทุกข์ย่อมเป็นนัยลบ การจะถามหาตัวตนหรือตัวกูหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น เพราะถ้าติดยึดในตัว ตนหรือตัวกูเสียแล้ว ตัวตนหรือตัวกูย่อมเกิดขึ้น เพราะอุปาทานแท้ ๆ จน เชื่อว่าตัวกูนี้แลคือผู้เสพสุข หรือเสพทุกข์ แต่ขอย้ำว่าถ้าพิจารณาให้ชัด ๆ ตัวกูนี้แลก่อให้เกิดความยุ่งยากมากเสียจริง ๆ ทั้งนี้เพราะมันเกิดจากขบวน การ จนเป็นความรู้สึกที่เราเสกสรรปั้นขึ้นจนไปยึดติดมันเข้า ไม่แต่กับตัว เราหรือตัวกูเท่านั้น หากมันขยายไปยังเพื่อนเราหรือศัตรูของเราเข้าอีกด้วย หากมองในแง่ดี การติดยึดในตัวเรา ก็ช่วยให้เกิดกำลังใจในการเอาชนะ อุปสรรคต่าง ๆ ก็ได้ นี่หมายความว่าถ้ารู้จักวางท่าทีที่ถูกต้อง เอาสมมติ ในเรื่องตัวตนมาใช้ แต่ต้องรู้จักใช้ อย่างไม่ติดยึด เพราะการใช้อุบายวิธีให้เกิดกำลังใจ ให้เกิดความเพียร ให้เกิดความเชื่อมั่น ในตน การคำนึงถึงตัวตน อย่างรู้เท่าทัน ก็นับว่าเป็นประโยชน์อยู่ แต่ถ้า ไม่เข้าใจความข้อนี้ การกระทำด้วยกำลังใจก็ดี ด้วยความเพียรก็ดี ย่อมเป็น ไปอย่างเห็นแก่ตัวได้ง่าย ที่ร้ายกว่านั้น ก็ตรงที่คิดจนติดยึดว่า
( ๑ ) ตัวตนนั้นมีอยู่จริง
( ๒ ) ตัวตนนั้นไม่มีอยู่จริง
( ๓ ) ตัวตนนั้นมีจริงหรือไม่ ก็ไม่แน่ใจ ขอย้ำว่าเจตนาเป็นปัจจัยสำคัญในการนำไปสู่ประสบการณ์ทางด้านการเสพ สุขเพื่อปลอดพ้นจากทุกข์ แล้วอะไรเล่าคือตัวกำหนดของเจตนาทั้งนี้อาจมี ร่างกายเป็นอิทธิพลที่สำคัญมาเกี่ยวข้องด้วย เพราะรูปสัมพันธ์กับนาม หรือ ความคิดความอ่านย่อมสัมพันธ์กับกาย ก็ในเมื่อเจตนาเป็นตัวการที่สำคัญในการกำหนดธรรมชาติของประสบการณ์ ฉะนั้นทัศนคติหรือทิฐิของเราจึงเป็นแรงกระตุ้นทางเจตนาของเรา เช่นการ พยายามเอาชนะพลังในทางลบ ในทางความทุกข์ ย่อมมาจากสภาวะจิตของ เรา จากสภาวะจิตนี้เองที่เราอาจเอาชนะความทุกข์ หรือธรรมชาติของจิตใจ ซึ่งเป็นปัจจยาการในทางจิตใจนี้ จึงถือว่ามีความสำคัญยิ่งนัก เวลาเราพูดถึงการเอาชนะความทุกข์ หรือ

ความชั่วร้ายต่าง ๆ นั้น นั่นก็คือ ความมุ่งประสงค์พระโพธิญาณ หรือการตรัสรู้ ที่หลายคนเห็นว่าเป็นอุดม คติที่ไกลเกินไป แต่ถ้าพูดกันให้ไกล้ตัวเราเข้ามา เราอาจฝึกประสบการณ์ ของเรา ด้วยการฝึกจิต ให้รู้จักลดความโลภ โกรธ หลง ลงได้ยิ่งลดลงได้ เพียงไร เราก็ทดสอบประสบการณ์ของเราได้เพียงนั้น เช่นเริ่มจากอวิชชา อันเป็นต้นของความหลงผิดในกระบวนการคิดของเรา ถ้าเราเริ่มศึกษาจน ได้ประสบการณ์ขึ้นเรื่อย ๆ เราก็ลดความหลงลงได้เรื่อย ๆ นั่นแล การเปลี่ยนแปลงจิตให้ลดความโลภ โกรธ หลง ลงนั้น ต้องเริ่มจากการรู้ จักจิตใจเสียก่อน ดังนิกายไวกาสิกะ ในพระพุทธศาสนา เสนอทฤษฎีที่ว่า การรับรู้นั้นเปล่าเปลือยหรือว่างเปล่า กล่าวคือไม่มีตัวกลางระหว่างการรับ รู้และวัตถุที่รับรู้ และการรับรู้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะตัวเชื่อมโยงแต่อย่างใด ในขณะที่นิกายเสาตรานิกะ และอีกสองนิกายในทางฝ่าย

มหายาน ถือว่ามี ตัวเชื่อมโยงทางด้านการรับรู้ ที่เรียกว่า อาการ ขอย้ำอีกครั้งว่าถ้าต้องการเอาชนะความทุกข์ ต้องเข้าใจให้ชัดว่าตัวตนหรือ ตัวเราที่สมมติขึ้นนั้น ไม่มีการแบ่งอย่างชัดแจ้งในข้อที่ว่า นี้เป็นฝ่ายกุศล นั้น เป็นฝ่ายอกุศล หากขอให้ตราไว้ว่า ถ้าคิดในเรื่องตัวเรามากเท่าไร ปัจจยาการ ในทางความคิดและจิตใจ รวมไปถึงเจตนาต่าง ๆ ก็ย่อมนำไปสู่ทุกข์ทั้งนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการติดยึดในเรื่องของตัวเรา ย่อมเป็นไปในทาง อกุศลยิ่งกว่าอะไรอื่น คราวนี้ ขอให้มาพิจารณาดูว่าตัวตนที่ว่านี้เป็นไปตามสภาวสัตย์หรือไม่ แท้ ที่จริงจิตที่เป็นกุศลย่อมเป็นไปตามสภาวสัตย์ หรือถ้าจะฝึกจิตให้เป็นกุศล ไปจนถึงขั้นโลกุตตระ หรือฝึกจิตให้เป็นกุศล ให้ไปได้ไกลเท่าที่จะไปได้ กุศลจิตนั้น ๆ ย่อมเป็นไปตามสภาว

สัตย์ ฉะนั้นขอให้เรากลับมาวิเคราะห์ รูปแบบในทางความเข้าใจทั้งสองประการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเกี่ยวกับตัว ตน ว่าอย่างไหนเป็นไปตามสภาวสัตย์หรือไม่ ข้อที่ ๑ ที่ว่าตัวตนนั้นมีอยู่จริง ความข้อนี้เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าจิตใจนั้น เป็นไปตามสภาวสัตย์ โดยเราอาจถือว่าตนรู้ได้ว่าสิ่งที่เราเรียกว่าตัวตนนั้น มีอยู่จริงละหรือ กล่าวคือสิ่งที่เรียกว่า ฉัน ข้าพเจ้า กู อาตมา นั้นเป็นจริง ตามสภาวสัตย์หรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามสภาวสัตย์ คำว่า ฉัน ฯลฯ ก็เป็น เพียงสิ่งซึ่งสมมติขึ้นมาเรียกขานกันเท่านั้นเอง ฉะนั้น คำว่า ฉัน ฯลฯ จึง ไม่มีจริงตามสภาวสัตย์ เพราะสภาวสัตย์ในทางพุทธศาสนานั้นคือศูนยตา พร้อมกันนั้นก็ต้องขอบอกให้ทราบว่ามีกายหนึ่งในพุทธศาสนาที่ถือว่าตัว ตนหรืออัตตานั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวิญญาณในขันธ์ ๕ ในขณะที่นิกาย ปราสังฆิกะ ถือว่าตัวตนหรืออัตตานั้นเกิดขึ้นจากสิ่งที่รวมขึ้นจากนามรูป หรือขันธ์ทั้งห้า ทุกนิกายในทางพุทธศาสนาถือว่าตัวตนหรืออัตตาเป็นเรื่อง ของสมมติสัตย์ ไม่ใช่ปรมัตถสัตย์ จากเหตุผลในข้อที่ ๑ ซึ่งสรุปว่าตัวตนนั้นไม่มีอยู่จริง ย่อมยืนยันความจริง ในข้อที่ ๒ ดังได้กล่าวมาแล้วแต่

แรก ในส่วนข้อ ๑ ที่ว่าตัวตนจะมีอยู่จริง หรือไม่ยังไม่แน่ใจนั้น ท่านสอนให้ใช้วิธีภาวนาหรือตรวจสอบประสบการณ์ จนรู้ได้ว่าอัตตาหรือตัวตนนั้นเป็นหรือไม่เป็นไปตามสภาวสัตย์ การที่จะสรุปลงได้ดังนี้ ต้องกลับมาตีประเด็นที่นามกับรูป หรือขันธ์ ๕ รวม ทั้งวิญญาณขันธ์ กล่าวคือถ้าไม่พิจารณาดูโดยแยบคาย ดูจะคล้ายกับว่าวิญ ญาณขันธ์นั้นเป็นตัวตน อย่างคงทนถาวร ดังพวกพรหมณ์เยกว่าเป็นอาตมัน ซึ่งถือว่าเป็นมิจฉาทิฐิที่ร้ายแรง เพราะวิญญาณขันธ์เองมีความละเอียดอ่อน ลุ่มลึกอย่างที่สุด กล่าวคือจิตใจที่หยาบกระด้างขึ้นอยู่กับร่างกายอย่างใกล้ชิด ถ้ามันสมองทำงาน จิตใจก็ทำงานตามมันสมอง ถ้ามันสมองหยุดทำงาน จิตใจในขั้นที่หยาบก็หยุดทำงานตามไปด้วย ความข้อนี้พุทธศาสนาไม่ปฏิเสธ ทฤษฎีของนักวิชาการ โดยเฉพาะด้านจิตแพทย์ พุทธศาสนาต่างไปจากจิตแพทย์แบบตะวันตกตรงที่หัวใจมีพลังอย่างสำคัญ ยิ่ง พลังทางจิตที่ละเอียดอ่อนรวมตัวกันที่หทัยวัตถุ พระอรรถกถาจารย์ฝ่าย ธิเบตยืนยัน

ว่า หทัยวัตถุ อยู่ตรงที่หัวใจของมนุษย์นั้นเอง แต่ทะไลลามะเอง ไม่แน่พระทัยว่า หทัยวัตถุ อยู่ตรงไหนแน่ หากแต่ถ้าเดินลมปราณไปทางจิต สิกขาอย่างลึกซึ้งแล้วจะได้ประสบการณ์ว่าพลังทางจิตอยู่ทางแถว ๆ หัวใจ นั้นเอง อย่างน้อยก็แสดงว่าหทัยวัตถุเกี่ยวข้องอย่างไกล้ชิดกับหัวใจ แม้จะ ไม่อาจบอกได้อย่างชัดแจ้งว่าหทัยวัตถุอยู่ตรงไหน จะอย่างไรก็ตาม อายุรเวท แบบธิเบตชี้ชัดลงไปทางสรีรวิทยาว่ารูปเกี่ยวโยงไปยังนามอย่างไร ดังทางเดิน ของลมหายใจนั้นเป็นเรื่องของปราณหรือชีวิตโดยทางเดินลม

นั้นอยู่ในร่างกาย มีจุดศูนย์กลางต่าง ๆ ในร่างกาย มีจุด หรือ นาทิ และช่องต่าง ๆ ที่ผู้ปฏิบัติ ธรรมนำมาชี้แจงแสดงได้ว่าเวลาหลับลมปราณเปลี่ยนสภาพไปจากตอนตื่น อย่างไร เวลาฝันลมปราณก็ผันไปอีกกะแสหนึ่ง ยิ่งตอนตายด้วยแล้ว เกิด แสงสว่างกระจ่างขึ้นมาอย่างน่าสนใจยิ่งนัก ( ดู เตรียมตัวตายอย่างมีสติ ที่ ข้าพเจ้าเรียบเรียงมาจาก คัมภีร์มรณศาสตร์ของธิเบต และดู ประตูสู่สภาวะ ใหม่ คำสอนธิเบตเพื่อเตรียมตัวตายกับช่วยเหลือผู้ไกล้ตาย ที่พระไพศาล วิสาโล แปล ) ....NEXT

วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

ผู้นำ







Google รูปบล็อก: ภาพที่ง่ายต่อการ Picasa Web Albums

ในฐานะผู้นำ สิ่งสำคัญคือ ควรจะต้องพิจารณาอย่างระมัดระวัง และคิดอย่างลึกซึ้งในการกระทำสิ่งที่จำเป็นในขณะนี้ จงเพียรพยายามทุกอย่างเพื่อส่งเสริมกำลังใจ และปลุกเร้าเพื่อนและสมาชิกของเรา ผู้ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก กระตุ้นพวกเขา โดยบอกว่า ขอให้พวกเราก้าวหน้าต่อไปด้วยเจตนารมณ์ของ การมีชัยชนะตลอดกาล

วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

ดูจิต ธรรมโดย หลวงพ่อชา




การศึกษาธรรมะในทางพระพุทธศาสนานั้น เราศึกษาไปเพื่อหาทางพ้นทุกข์ เพื่อความสงบสุขเป็นจุดสำคัญ จะศึกษาเรื่องรูป เรื่องนาม เรื่องจิต เรื่องเจตสิกก็ตาม ก็เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์เท่านั้น จึงจะถูกทาง มิใช่อย่างอื่น สิ่งเหล่านี้ถ้าเราเข้าใจเสียว่า มันจะเป็นจิตก็ช่างมันเถอะ เมื่อมันนิ่งอยู่อย่างนี้ก็คือเป็นปกติของมัน ถ้าว่ามันเคลื่อนปุ๊บก็เป็นสังขารแล้ว มันจะเกิดยินดีก็เป็นสังขาร มันจะเกิดยินร้ายก็เป็นสังขาร มันอยากจะไปโน่นไปนี่ก็เป็นสังขาร ถ้าเราไม่รู้เท่าสังขาร ก็วิ่งตามมันไป เป็นไปตามมัน เมื่อจิตเคลื่อนเมื่อใด ก็เป็นสมมติสังขารเมื่อนั้น ท่านจึงให้พิจารณาสังขาร คือ จิตมันเคลื่อนไหวนั่นเอง เมื่อมันเคลื่อนออกไปก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อผู้รู้ รู้ตามความเป็นจริงของจิต หรือเจตสิกเหล่านี้ จิตก็ไม่ใช่เรา สิ่งเหล่านี้มีแต่ของทิ้งทั้งหมด ไม่ควรเข้าไปยึด ไปหมายมั่นทั้งนั้น เหมือนกับตะเกียงเป็นตัวผู้รู้ แสงสว่างของตะเกียง มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน มันเกิดจากผู้รู้อันนี้ ถ้าจิตนี้ไม่มี ผู้รู้ก็ไม่มีเช่นกัน มันคือ

อาการของพวกนี้ ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้รวมแล้วเป็นนามหมด ท่านว่าจิตนี้ก็ชื่อว่าจิต มิใช่สัตว์ มิใช่บุคคล มิใช่ตัว มิใช่ตน มิใช่เรา มิใช่เขา ธรรมนี้ก็สักว่าธรรม มิใช่ตัวตนเราเขา ไม่เป็นอะไร ท่านให้เอาที่ไหน เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแต่เป็นขันธ์ห้า ท่านให้วาง สิ่งทั้งหลายที่จิตคิดไปทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ ล้วนเป็นสังขารทั้งหมด เมื่อรู้แล้วท่านให้วาง เมื่อรู้แล้วท่านให้ละ ให้รู้สิ่งเหล่านี้ตามความเป็นจริง ถ้าไม่รู้ตามความเป็นจริงก็ทุกข์ ก็ไม่วางสิ่งเหล่านี้ได้ เมื่อรู้ตามความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็เป็นของหลอกลวง สมกับที่พระศาสดาตรัสว่า จิตนี้ไม่มีอะไร ไม่เกิดตามใคร ไม่ตายกับใคร จิตเป็นเสรี รุ่งโรจน์โชติการ ไม่มีเรื่องราวต่างๆ เข้าไปอยู่ในที่นั้น ที่จะมีเรื่องราวก็เพราะมันหลงสังขารนี่เอง หลงอัตตานี่เอง พระศาสนดาจึงให้มองดูจิตของเรา เบื้องแรกมันมีอะไร ไม่มีอะไรจริงๆ สิ่งเหล่านี้มิได้เกิดด้วย มิได้ตายด้วย ถูกอารมณ์ดีมากระทบก็มิได้ดีด้วย ถูกอารมณ์ร้ายมากระทบก็มิได้ร้ายไปด้วย เพราะรู้ตัวของตัวอย่างชัดเจน รู้ว่าสภาวะเหล่านั้นไม่เป็นแก่นสาร ท่านเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตัวผู้รู้นี้ รู้ตามความเป็นจริง ผู้รู้มิได้ดีใจไปด้วย มิได้เสียใจไปด้วย อาการที่ดีใจไปด้วยนั่นแหละเกิด อาการที่เสียใจไปด้วยนั่นแหละตาย ถ้ามันตายก็เกิด ถ้ามันเกิดก็ตาย ตัวที่เกิดที่ตายนี่แหละ เป็นวัฏฏะ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ไม่หยุด เมื่อจิตผู้ปฏิบัติเป็นอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องสงสัย ภพมีไหน ชาติมีไหม ไม่ต้องถามใคร พิจารณาอาการสังขารเหล่านี้แล้วจึงได้ปล่อยวางสังขาร วางขันธ์เหล่านี้ เป็นเพียงผู้รับทราบไว้เฉยๆ มันจะดีขึ้น

มา ท่านก็ไม่ดีกับมัน เป็นคนดูอยู่เฉยๆ ถ้ามันร้ายขึ้นมา ท่านก็ไม่ร้ายกับมัน เพราะมันขาดจากปัจจัยแล้ว เมื่อรู้ตามความเป็นจริง ปัจจัยที่จะส่งเสริมให้เกิดไม่มี เมื่อถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจมากระทบ มันก็เกิดเป็นอาการขึ้นกับใจเรา เราติดมันไหม เราวางมันได้ไหม อาการที่ไม่ชอบใจนั้นเกิดขึ้นมา เรารู้แล้ว ผู้รู้เอาความไม่ชอบไว้ในใจหรือเปล่า หรือว่าเห็นแล้ววาง ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่ชอบใจแล้วยังเอาไว้ในใจของเรา ให้เรียนใหม่ เพราะยังผิดอยู่ ยังไม่ยิ่ง ถ้ามันยิ่งแล้วมันวาง ให้ดูอย่างนี้ เรื่องการปฏิบัติน้จึงสำคัญมาก ดูผู้รู้นี่แหละ ถ้ามันคิดชัง ทำไมถึงชัง ถ้ามันรัก ทำไมถึงรัก จะเป็นจิตหรือเจตสิกก็ไม่รู้ จึ้เข้าตรงนี้ จึงแก้เรื่องที่มันรักหรือชังนั่น ให้หายออกจากใจได้ จะเป็นอะไรก็ตาม ถ้าทำจิตให้หยุดรักหรือหยุดชังได้ จิตก็พ้นจากทุกข์แล้ว จะเป็นอะไรก็ช่าง มันสบายแล้ว ไม่มีอะไร มันก็หยุด เมื่อ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เกิดขึ้นมาบ่อยๆ ได้พิจารณาบ่อยๆ ด้วยอาการที่เราตั้งใจมิได้เผลอ จึงรู้อาการของสิ่งเหล่านี้ว่า มันเกิดตามความเป็นจริงของมัน เมื่อรู้เรื่อยๆ ไป ก็เกิดปัญญา เมื่อรู้ตามความเป็นจริง ตามสภาวะของมัน สัญญาจะหลุด เลยกลายเป็นตัวปัญญา จึงเป็นศีล สมาธิ

ปัญญา รวมเป็นอันเดียวกัน ถ้าปัญญากล้าขึ้น ก็อบรมสมาธิให้มั่นขึ้นไป เมื่อสมาธิมั่นขึ้นไป ศีลก็มั่นก็สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อศีลสมบูรณ์ขึ้น สมาธิก็กล้าขึ้นอีก เมื่อสมาธิกล้าขึ้น ปัญญาก็กล้ายิ่งขึ้น สามอย่างนี้เป็นไวพจน์ซึ่งกันและกัน ต้นกะบกต้นนี้ใบเป็นอย่างไร หยิบมาดูใบเดียวเท่านั้นก็เข้าใจได้แล้ว มันมีสักหมื่นใบก็ช่างมัน ใบกะบกเป็นอย่างนี้ ดูใบเดียวเท่านี้ ใบอื่นก็เหมือนกันหมด ถ้าจะดูลำต้นกะบกต้นอื่น ดูต้นเดียวก็จะรู้ได้หมด ดูต้นเดียวเท่านั้น ต้นอื่นก็เหมือนกัน ถึงมันจะมีแสนต้นก็ตาม เข้าใจต้นเดียวเท่านั้นก็พอแล้ว ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี สิ่งทั้งสามประการนี้ท่านเรียกว่ามรรค อันมรรคนี้ยังมิใช่ศาสนา อีกซ้ำยังไม่ใช่สิ่งที่พระศาสดาต้องการอย่างแท้จริง แต่เป็นหนทางที่จะดำเนินเข้าไป เหมือนที่ท่านมาจาก

กรุงเทพฯ จะมาวัดหนองป่าพง ท่านคงไม่ต้องการหนทาง ท่านต้องการถึงวัดต่างหาก แต่หนทางเป็นสิ่งจำเป็นแก่ท่านที่จะต้องมา ฉะนั้น ถนนที่ท่านมานั้น มันไม่ใช่วัด มันเป็นเพียงถนนมาวัดเท่านั้น แต่ก็จำเป็นต้องมาตามถนน จึงจะมาถึงวัดได้ ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี ถ้าจะพูดว่านอกศาสนา แต่ก็เป็นถนนเข้าไปถึงศาสนา เมื่อคราวปฏิบัตินั้น มีความสงสัยอยู่ว่า สมาธิเป็นอย่างไรหนอ คิดหาไป นั่งสมาธิไป จิตยิ่งฟุ้ง ยิ่งคิดมาก เวลาไม่นั่งค่อยยังชั่ว แหม มันยากจริงๆ ถึงยากก็ทำไม่หยุด ทำอยู่อย่างนั้น ถ้าอยู่เฉยๆ แล้วสบาย เมื่อตั้งใจว่าจะทำให้จิตเป็นหนึ่งยิ่งเอาใหญ่ มันยังไงกัน ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ต่อมาจึงคิดได้ว่า มันคงเหมือนลมหายใจเรานี้กระมัง ถ้าว่าจะตั้งให้หายใจน้อย หายใจใหญ่ หรือให้มันพอดี ดูมันยากมาก แต่เวลาเดินอยู่ ไม่รู้ว่าหายใจเข้าออกตอนไหน ในเวลานั้นดูมันสบายแท้ จึงรู้เรื่องว่า อ้อ อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ เวลาเราเดินไปตามปกติมิได้กำหนดลมหายใจ มีใครเคยเป็นทุกข์ ถึงลมหายใจไหม? ไม่เคย มันสบายจริงๆ ถ้าจะไปนั่งตั้งใจเอาให้มันสงบ มันก็เลยเป็นอุปทานยึดใส่ ตั้งใส่ หายใจสั้นๆ

ยาว ๆ เลยไม่เป็นอันกำหนด จิตเกิดมีทุกข์ยิ่งกว่าเก่า เพราะอะไร? เพราะความตั้งใจของเรากลายเป็นอุปทานเข้าไปยึด เลยไม่รู้เรื่อง มันลำบาก เพราะว่าเราเอาความอยากเข้าไปด้วย สมาธิไม่ต้องเท่าไหร่ ดูอาการภายนอกเลย ดูเหตุผล พิจารณาเรื่อยไป เราเอาความสงบนี้มาพิจารณา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบ แม้จะดี จะชั่ว สุข ทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวง เหมือนกับคนขึ้นต้นมะม่วงแล้วเขย่าลูกหล่นลงมา เราอยู่ใต้ต้นมะม่วงคอยเก็บเอา ลูกไหนเน่าเราไม่เอา เอาแต่ลูกที่ดีๆ ไม่เปลืองแรง เพราะว่าไม่ได้ขึ้นต้นมะม่วง คอยเก็บอยู่ข้างล่างเท่านั้น ข้อนี้หมายความว่าอย่างไร อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงเกิดมา เอาความรู้มาให้เราหมด มิได้ไปปรุงแต่งมัน ลาภ ยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ มันมาเอง เรามีความสงบ มีปัญญา สนุกเฟ้น สนุกเลือกเอา ใครจะว่าดี ว่าชั่ว ว่าร้าย ว่าโน่นว่านี่ ต่างๆ นานา ล้วนแล้วแต่เป็นกำไรของเราหมด เพราะมีคนเขย่าให้มะม่วงหล่นลงมา เราก็สนุกเก็บเอา ไม่กลัว จะกลัวทำไม มีคนขึ้นเขย่าลงมาให้เรา ลาภก็ดี ยศก็ดี สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวง เหล่านี้เปรียบเหมือนมะม่วงหล่นลงมาหาเรา เราเอาความสงบมาพิจารณาเก็บเอา เรารู้จักแล้ว ลูกไหนดี ลูกไหนเน่า เมื่อเริ่มพิจารณาสิ่งเหล่านี้ อาการที่พิจารณาออกจากความสงบเหล่านี้ เรียกว่าปัญญา เป็นวิปัสสนา ไม่ได้แต่งมัน ถ้ามีปัญญา มันเป็นของมันเอง ไม่ต้องไปตั้งชื่อมัน ถ้ามันรู้แจ้งน้อย ก็เรียกว่า วิปัสสนาน้อย ถ้ามันรู้อีกขนาดหนึ่ง ก็เรียกว่า วิปัสสนากลาง ถ้ามันรู้ตามความเป็นจริง ก็เรียกว่า วิปัสสนาถึงที่สุด เมื่อเราทำไปถึงขั้นนี้แล้ว เราก็ปล่อยตามบุญวาสนาบารมีของเรา แต่เราไม่หยุดทำความเพียร จะช้าหรือเร็ว

เราบังคับไม่ได้ เหมือนปลูกต้นไม้ มันจะรู้จักของมัน มันอยากเร็วก็รู้ว่ามันหลง มันอยากช้าก็รู้ว่ามันหลง เมื่อทำแล้วมันจึงเกิดผลขึ้นมา เหมือนเราปลูกต้นไม้ เช่น ปลูกพริกต้นนี้ หน้าที่ของเราคือขุดหลุมปลูก ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ป้องกันแมลงให้มันเท่านั้น นี่เรื่องของเรา นี่เรื่องศัทธาของเรา ส่วนต้นพริกจะโตก็เป็นเรื่องของมัน ไม่ใช่เรื่องของเรา จะไปดึงให้มันยืดขึ้นมาก็ไม่ได้ ผิดเรื่อง เราต้องให้น้ำ เอาปุ๋ยใส่ให้ ถ้าเราปฏิบัติอย่างนี้ก็จะสบาย จะถึงชาตินี้ก็ช่าง ถึงชาติหน้าก็ตาม เรามีศรัทธาอย่างนี้แล้ว มีความรู้สึกแน่นอนแล้วอย่างนี้ จะเร็วหรือช้านั้น เป็นเรื่องของบุญวาสนาบารมีของเรา ทีนี้ก็รู้สึกสบาย เหมือนขับรถม้า ก็มิได้เอารถไปก่อนม้า แต่ก่อนมันเอารถไปก่อนม้า ถ้าไถนาก็เดินก่อนควาย หมายความว่าใจมันเร็วมาก ร้อนมาก ทีนี้ไม่เป็นอย่างนั้น ไม่เดินก่อน ต้องเดินตามหลังควาย ถ้าเอาน้ำให้กิน เอาปุ๋ยให้กิน กินไปเถอะ มดปลวกมาข้าจะไล่ให้เจ้า เท่านั้แหละต้นพริกต้นนี้มันก็จะงามขึ้นเอง เมื่อมันงามแล้วเราจะบังคับว่า แกต้องเป็นดอกเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่เรื่องของเรา อย่าทำ เราจะเป็นทุกข์เปล่าๆ มันจะเป็นของมันเอง เมื่อมันเป็นดอกแล้ว เราจะให้เป็นเม็ดเดี๋ยวนี้ อย่าไปบังคับมัน ทุกข์จริงๆ นา ทุกข์จริงๆ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เรารู้จักหน้าที่ของเรา ของเขา หน้าที่ของใครของมัน จิตก็จะรู้หน้าที่การงาน ถ้าจินไม่รู้หน้าที่การงาน ก็จะไปบังคับต้นพริกให้มีผลในวันนั้นเอง ให้มันโตเป็นดอกเป็นผลขึ้นในวันนั้น นั่นล้วนแต่เป็นตัวสมุทัย เหตุให้

ทุกข์เกิดขึ้นมาทั้งนั้น ถ้ารู้อย่างนี้ คิดอย่างนี้ รู้ว่ามันหลง มันผิด รู้อย่างนี้แล้วก็ปล่อย ให้เป็นเรื่องบุญวาสนาบารมีต่อไป เราทำของเราไป ไม่ต้องกลัวว่าจะนาน ร้อยชาติ พันชาติก็ช่างมัน จะชาติไหนก็ตาม ปฏิบัติสบายๆ นี่แหละ พวกญาติโยมถึงปฏิบัติอยู่บ้าน ก็พยายามให้มีศีล 5 กาย วาจา ของเราพยามให้เรียบร้อย พยายามดีๆ เถอะ ค่อยทำค่อยไปการทำสมถะนี่ อย่านึกว่าไปทำครั้งหนึ่งสองครั้งแล้ว มันไม่สงบก็เลยหยุด ยังไม่ถูก ต้องทำนานอยู่นะ ทำไมถึงนาน คิดดูสิเราปล่อยมากี่ปี เราไม่ได้ทำ มันว่าไปทางโน้นก็วิ่งตามมัน มันว่าไปทางนี้ก็วิ่งตามมัน ทีนี้จะหยุดให้มันอยู่เท่านี้ เดือนสองเดือนจะให้มันนิ่ง มันก็ยังไม่พอ คิดดูเถิด การปฏิบัตินั้นให้พยายามทำ มันจะสงบหรือไม่สงบก็ช่าง ปล่อยไว้ก่อน เราเรื่องเราปฏิบัติเป็นเรื่องแรก เอาเรื่องเราได้สร้างเหตุนี้แหละ ถ้าทำแล้ว ผลจะเป็นอย่างไรก็ได้ เราได้ทำแล้ว อย่ากลัวว่าจะไม่ได้ผล มันไม่สงบ เราได้ทำแล้ว ถ้าจะนั่งสมาธิ อย่าคิดมาก ถ้าอยากให้มันเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ หยุดดีกว่า เวลานั่งสมาธิเราตั้งใจว่า "เอาละ จะเอาให้มันแน่ๆ ดูที" เปล่า! วันนั้นไม่ได้เรื่องเลย แต่คนเราชอบทำอย่างนั้น บางคืนพอเริ่มนั่งก็นึกว่า เอาละวันนี้อย่างน้อยตีหนึ่งจึงจะลุก คิดอย่างนี้ไม่

นานหรอก เวทนามันรุมเอาเกือบตาย มันจะดีเวลานั่งโดยไม่ต้องกะต้องเกณฑ์ ไม่มีที่จุดที่หมาย ทุ่มหนึ่ง สองทุ่ม สามทุ่ม ก็ช่างมัน นั่งไปเรื่อยๆ วางเฉยไว้ อย่าบังคับมัน อย่าไปหมายมั่น อย่าไปบังคับหัวใจว่า จะเอาให้มันแน่ๆ มันก็ยิ่งไม่แน่ ให้เราวางใจสบายๆ หายใจก็ให้พอดี อย่าเอาสั้น เอายาว อย่าไปแต่งมัน กายก็ให้สบาย ทำเรื่อยไป มันจะถามเราว่า จะเอากี่ทุ่ม จะเอานานเท่าไหร่ มันมาถามเรื่อย เราต้องตวาดมัน "เฮ้ย อย่ามายุ่ง" ต้องปราบมันไว้เสมอ เพราะพวกนี้มีแต่กิเลส มากวนทั้งนั้น อย่าเอาใจใส่มัน ต้องตัดมันไว้อย่างนี้ แล้วเราก็นั่งเรื่อยไป ตามเรื่องของเรา วางใจสบาย ก็เลยสงบ ถ้าเราทำภาวนา อย่าให้กิเลตัณหามันรู้เงื่อนรู้ปลายได้ จิตของเราก็เหมือนควาย อารมณ์คือต้นข้าว ผู้รู้ก็เหมือนเจ้าของ ควายจะต้องกินต้นข้าว ต้นข้าวเป็นของที่ควายจะกิน เวลาเราไปเลี้ยงควาย ทำอย่างไร ปล่อยมันไป แต่เราพยายามดูมันอยู่ ถ้ามันเดินไปใกล้ต้นข้าว เราก็ตวาดมัน ควายได้ยินก็จะถอยออก แต่เราอย่าเผลอนะ ถ้ามันดื้อไม่ฟังเสียง ก็เอาไม้ค้อนฟาดมัน มันจะได้กินต้นข้าวหรือ แต่เราอย่าไปนอนหลับกลางวันก็แล้วกัน ถ้าขืนนอนหลับ ต้นข้าวหมดแน่ๆ เราการปฏิบัติก็เช่นกัน เมื่อเราดูจิตของเราอยู่ ผู้รู้ดูจิตเจ้าของ ผู้ใดที่ตามดูจิต

ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงมาร จิตอันหนึ่ง ผู้รู้อันหนึ่ง รู้ออกมาจากจิตนั่นแหละ ผู้รู้จะตามดูจิต ผู้รู้นี้จะเกิดปัญญา จิตนั้นคือความนึกคิด ถ้าพบอารมณ์นั้นก็แวะไป ถ้าพบอารมณ์อีกมันก็แวะไปอีก มันเข้าจับทันที เหมือนกับควายนั่นแหละ เมื่อมันเข้าจับ ผู้รู้ต้องสอนต้องพิจารณา จนมันทิ้ง อย่างนี้จึงสงบได้ จับอะไรมาก็มีแต่ของไม่น่าเอา มันก็หยุดเท่านั้น มันก็ขี้เกียจเหมือนกัน เพราะมีแต่ถูกด่าถูกว่าเสมอ ทรมานมันเข้า ทรมานเข้าไปถึงจิต หัดมันอยู่อย่างนี้แหละ เขาว่าเราทำผิด แต่เราไม่ผิดดังเขาว่า เขาพูดไม่ถูก ก็ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไม เพราะเขาพูดไม่ถูกตามความจริง ถ้าเราผิดดังเขาว่า ก็ถูกดังเขาว่าแล้ว ไม่รู้จะไปโกรธเขาทำไมอีก ถ้าคิดได้ดังนี้ รู้สึกว่าสบายจริงๆ มันเลยไม่มีอะไรผิด ล้วนแต่เป็นธรรมทั้งหมด อาตมาปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าปฏิบัติอย่างนี้มันลัดตรงจริงๆ เราจะไม่เอาใจใส่ทั้งความสุข และความทุกข์ จะวางมัน สัมมาปฏิปทา ต้องเดินสายกลาง สงบจากความสุข ความทุกข์ ความดีใจ เสียใจ นี้คือลักษณะปฏิบัติ ถ้าใจเราเป็นอย่างนี้แล้ว หยุดได้ หยุดถามได้ ไม่ต้องไปถามใคร ต้องเป็นผู้ละ พูดจาน้อย มักน้อย เป็นคนละทิฏฐิมานะทั้งหลายทั้งปวง คนพูดผิดก็ฟังได้ คนพูดถูกก็ฟังได้หมด ดูจิตดูใจเรา คล้ายๆ กับว่า จิตมันวางเป็นปกติ ถ้ามันเคลื่อนออกจากปกติ เช่น มันคิดมันนึกต่างๆ นั่นเป็นสังขาร สังขารนี้มันจะปรุง

เราต่อไป ระวังให้ดี ให้มันรู้ไว้ ถ้ามันเคลื่อนออกจากปกติแล้ว ไม่เป็นสัมมาปฏิปทาหรอก อาตมาเห็นว่าจิตนี้เหมือนกับจุดๆ เดียวเท่านั้น อันที่เรียกว่าเจตสิกนั่นเป็นแขก แขกมาพักอยู่ตรงนี้ คนนั้นมาเยี่ยมเราบ้าง คนโน้นมาเยี่ยมเราบ้าง มาพักอยู่ตรงนี้ เราจึงเรียกพวกนั้น ที่ออกจากจิตของเรามา เป็นเจตสิกหมด ทีนี้เรามาทำจิตของเราให้เป็นผู้รู้ ตื่นอยู่ คอยรักษาจิตของเราอยู่ ถ้าแขกมาเมื่อไหร่ โบกมือห้าม มันจะมานั่งที่ไหน มีที่นั่งที่เดียวเท่านั้น เราก็พยายามรับแขกอยู่ตรงนี้ตลอดวัน พูดถึงอาคันตุกะ แขกที่จรมาปรุงมาแต่งต่างๆ นานา ให้เราเป็นไปตามเรื่องของมัน อาการของจิตที่เป็นไปตามเรื่องของมัน นี่แหละเรียกว่า เจตสิก มันจะเป็นอะไร จะไปไหนก็ช่างมัน ให้เรารู้จักอาคันตุกะที่มาพัก ที่รับแขกมีเก้าอี้ตัวเดียวเท่านั้นเอง เราเอาผู้หนึ่งไปนั่งไว้แล้ว มันก็ไม่มีที่นั่ง มันมาที่นี่ มันก็จะมาพูดกับเรา ครั้งนี้ไม่ได้นั่ง ครั้งต่อไปก็จะมาอีก มาเมื่อไหร่ก็พบแต่ผู้นี้นั่งอยู่ ไม่หนีสักที มันจะทนมากี่ครั้ง ไฟอยู่บ้านเขา ไปจับมันก็ร้อน

ไฟอยู่บ้านเรา ไปจับมันก็ร้อนเหมือนกัน ถาม ผมได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ยังไม่มีที่ท่าว่าจะได้ผลคืบหน้าเลย ตอบ เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ ในการปฏิบัติ ความอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้นหรือรู้แจ้งนั้นจะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั่งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความที่อยากจะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะพบความสงบไม่ได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความสงสัยและความกระวนกระวายใจ ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัตินานเท่าใดหรือนานสักเพียงใด ปัญญา (ที่แท้) จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น ดังนั้นจงเพียงแต่ละความอยากเสีย จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติแต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง



วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

เรื่องของเม้า



พุทธศาสนสุภาษิต สิ่งที่เป็นการยาก กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิดโฉ มะนุดสะ ปะติลาโภ ความได้เป็น
มนุษย์เป็นการยาก กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ กิดฉัง มัดจานะ ชีวิตัง ความเป็นอยู่ของสัตว์เป็นการยาก กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิดฉัง สัดธัมมัด สะวะนัง การฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นการยาก กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท กิดโฉ พุดทานะ มุบปาโท ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้เป็นการยาก ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส ทุนละพัง ทัดสะนัง โหติสำพุดทานัง อะพินหะโส การเห็นพระพุทธเจ้าเนืองๆ เป็นการหาได้ยาก เรื่องของเม้า ตอนที่สอง มีคนมาแจมกับตามหาแก่นธรรมกันแล้วและที่รับปากว่าจะมากับท่านสะมะชัยโยแล้วก็มี เม้าจะรออ่านแล้วก็เลยขอแจมก่อนในครั้งนี้ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรขอขียนคำว่า"ชีวิต"ดีกว่าลองอ่านกันดูนะครับว่าจะเข้าท่าหรือเปล่า เม้าเป็นเด็กผู้ชายคนหนึ่งอายุราว 6 ปีเป็นลูกชายร้านทำเฟอร์นิเจอร์เล็กๆแห่งหนึ่ง มีคนงาน 2-3 คนมีพี่น้อง 7 คน เสียชีวิตแต่เล็ก 2คน เม้าเป็นลูกคนที่ 4 จากลูกคนที่เหลือทั้งหมด คุ้นเคยกับคนสูงวัยตั้งแต่เเม่ผู้ให้กำนิดเพราะผู้เป็นแม่อายกว่า 40 ปีแล้วในตอนนั้น พอถึงเวลาเข้าเรียนหนังสือ แม่ก็พาไปเรียนกับโรงเรียนเล็กๆข้างบ้าน ตอนเช้าก่อนไปโรงเรียนแม่จะหวีผมให้เรียบแปล้ รองเท้าใหม่เอียมแต่กางเกงหลวมโคล่งแถมมีรอยปะใยแมงมุมเล็กๆที่ข้างหลังกางเกง เพราะรับช่วงต่อมาจากพี่ชาย ตามธรรมดาของครอบครัวที่มีลูกหลายคน แม่จะให้ค่าขนมและอาหารพอดีกับการ

ใช้แบบประหยัด เพราะหมดพอดีไม่มีเหลือทุกวัน เม้านอกจากจะขลุกกับเพื่อนที่โรงเรียนแล้ว ก็จะอยู่กับแม่เกือบตลอดเวลา ช่วยแม่ทำโน่นทำนี่ ทุกเย็นที่เม้าไปตลาดกับแม่ แม่ค้าจะทักทายเม้าและแม่เกือบทุกร้าน อย่างร้านขายหมูจะแถมหมูสันในให้แม่แล้วบอกว่า" ไปให้นึ่งให้อาตี๋กิน " และคำพูดยอดฮิตของแม่ค้าเกือบทุกร้านในตลาด จะพูดตอนส่งของให้แม่ว่า"ลงบัญชีไว้ก่อนมั๊ยเจ๊"อย่างยิ้มแย้ม แต่แม่ก็ไม่ได้ลงบัญชีทุกร้าน จะเลือกบางร้านที่เหลือก็จ่ายเงินสดไป กิจวัตรก่อนข้าวเย็นของเม้า ต้องเก็บเศษไม้ที่คนงานไสหน้าเพื่อเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์ต่อไป ที่เขาเรียกกันว่าขี้กบและยังมีขี้เลื่อยจากการเลื่อยไม้อีกต่างหาก คนงานมักหมุนเวียนเปลี่ยนไปแล้วแต่งาน บางครั้งเจอคนงานใจดีก็จะช่วยเม้าเก็บของ2-3 เข่ง คนงานมักถามเม้าว่าชอบกินไข่มากหรือ เเพราะอาหารเช้าของเม้าอาทิตย์ละ 5 วันก่อนไปโรงเรียนก็คือไข่ต้ม2 ฟองกับข้าว เพราะแม่ไม่มีเวลาเตรียมอาหารได้มากกว่านั้น แม่จะยุ่งทั้งวันแถมยังต้องทำกับข้าวให้คนงานและครอบครัวกิน 3 มื้อ ว่างจากงานอื่นๆแม่จะมานั่งกระเทาะเม็ดบัวที่ตากแดดแห้งกรอบใส่ปี๊บใบใหญ่ ด้วยอุปกรณ์คล้ายหลุมไม้และมีดพร้าหรือมีดอีโต้ ค่าแรงช่างถูกแสนถูกคือปี๊บใหญ่ 5 บาท เม้าอยากช่วยแม่ก็เลยให้แม่สอนกระเทาะ ซึ่งกว่าจะกระเทาะเป็นนิ้วมือของเม้าก็เกือบขาดไปหลายต่อหลาย

ครั้ง เพราะมีดมันต้องคมจึงจะกระเทาะเปลือกบัวแตกและต้องงัดให้ออก มีเรื่องอึดอัดใจของเม้าอยู่เรื่องหนึ่งที่โรงเรียนที่เม้าต้องเจอ คือก่อนสอบทุกครั้งทางโรงเรียนจะประกาศชื่อเด็กนักเรียนที่ยังไม่ได้จ่ายค่าเทอมให้มาจ่ายให้เรียบร้อยทางไมโครโฟน ไม่เช่นนั้นจะไม่มีสิทธิ์สอบ แต่หลังจากนั้นสองสามวันเมื่อแม่รู้จากเม้า ก็จะนำเงินมารีบจ่ายค่าเทอมให้เสมอ แม่ไม่ต้องพูดคำว่าเชื่อแม่นะลูกว่าจะเรียบร้อย แต่แม่ทำให้ดู เพราะแม่เป็นคนจีนเลยพูดไทยให้คนไม่คุ้นเคยฟังได้ไม่ชัด (แม่มาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ) แต่สิ่งที่แม่ทำให้เม้ารักแม่สุดๆก็คือหลังจากจ่ายค่าเทอมตามที่เม้าบอกแม่ว่าโรงเรียนประกาศชื่อเม้าหลายครั้งแล้ว แม่กลับไปคุยกับครูสมศรีอย่างเข้าใจชัดเจนว่าครูอย่าประกาศชื่อลูกชายฉันอีกเลย แม่ทำมือเขียนกระดาษให้ แล้วบอกทำนองว่าทำหนังสือทวงมาให้ฉัน จะรีบมาจัดการให้ หลังจากนั้นเม้าก็ไม่ได้ยินเสียงประกาศชื่อเม้าทวงค่าเทอมอีกเลย มีแต่หนังสือจากครูสมศรีส่งมาถึงแม่ผ่านเม้าพร้อมรอยยิ้มของครู และมักจะพูดตอนส่งหนังสือให้ว่า "แม่หนูรักหนูจังเลยนะ" ใช่สิเม้าถึงรักแม่ที่สุดในโลกเม้าเติบโตในอ้อมกอดของแม่ด้วยความรัก และไม่เคยสงสัยในความรักของแม่เลยแม้แต่น้อย ถึงแม่จะให้อะไรๆน้อยกว่าน้องมากกว่า อย่างเช่นมีขนมร้อนๆจากเพื่อนของแม่มาฝาก แม่จะไม่รีรอที่จะหยิบขนมขึ้นมาเป่าให้เย็นแล้วก็ใส่ปากเม้าเลย มันอร่อ่ยมากเลย จริงๆนะ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่เม้าต้องเอาเครื่องมือช่าง

ไปให้ช่างที่ศูนย์การค้าสยาม ปัจจุบันก็สยามดิสคอบเวอรี่นะแหละ ตอนนั้นอายประมาณ 10 ขวบ อุ้มเครื่องมือแนบอกขึ้นรถเมล์ไป แต่ขึ้นได้แค่กระไดขั้นแรกเพราะรถแน่นมาก พอรถเลี้ยวตรงแยกปทุมวันตัวเม้าก็เอียงหลุดออกไปนอกรถ แต่ตอนนั้นมีมือใครก็ไม่รู้จับคอเม้าดึงกลับเข้ามาในรถ ทุกวันนี้ยังระลึกถึงมือข้างนั้นด้วยความขอบคุณ ที่ทำให้เม้าได้อยู่กับแม่อีกหลายสิบปี เวลาผ่านไปหลายปีเม้าก็ยังกระเทาะเปลือกลูกบัวไปพลางอ่านหนังสือไปพลาง ช่วงมัธยมปลายแม่ดูเหมือนจะขาดเงินมาก เพราะแม่ยืมเงินญาติให้เห็นบ่อยๆ แต่แม่ก็จะคืนให้ตามกำหนดทุกครั้ง เม้าก็มุ่งมั่นจะช่วยแม่มาก จึงไปกราบครูประจำชั้นว่าจะขอไม่มาโรงเรียนแต่จะขอมาสอบอย่างเดียว แล้วก็เล่าเรื่องแม่ให้ครูฟัง ครูก็ยอมแต่ขอให้มาโรงเรียนบ้าง ครูท่านนั้นท่านชื่อครูประณีต และท่านได้ให้โอกาสอย่างใหญ่หลวงแก่ชีวิตของเม้าอย่างมากมาย เม้าไม่ได้บอกแม่ว่าไม่ไปเรียนทุกวัน แต่ไปอาทิตย์ละวันหรือสองวัน ที่เหลือก็บอกแม่ว่าโรงเรียนมีกิจกรรม แม่ก็ไม่ได้สงสัยอะไร แล้วในปีนั้นเม้าก็ทำให้แม่และครูดีใจ เพราะสอบได้ที่หนึ่งของห้อง หลังจากปีนั้นพี่ๆเริ่มจบการศึกษาแม่เริ่มสบายขึ้นมาก เพราะแม่มีเงินเดือนจากพี่ๆ พี่ยีเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นวีระบุรุษของน้องๆ ทุกเรื่องที่พ่อและแม่เอ่ยถึง ทั้งสองก็จะได้รับทันที ไม่เคยได้ยินคำว่าไม่จากพี่ชายคนนี้เลย ตอนเรียนหนังสือ พี่ยีเป็นคนเรียนหนังสือเก่งกิจกรรมเยี่ยม ก็เลยได้เรียนคณะวิศวกรรมในสถาบันมีชื่อ และมักจะเป็นประธานนักศึกษาเกือบทุกที่ๆพี่ยีเรียน พี่ยีจะตื่นแต่เช้าเพื่อไปส่งหนังสือพิมพ์

และไปช่วยเขาส่งกาแฟเพื่อเอาเงินมาช่วยแม่ก่อนไปเรียน พี่ยีบอกน้องๆเสมอว่าเรียนไปเถอะขาดเหลืออะไรพี่จะจัดการให้ และพี่ไม่เคยปดต่อคำพูดตัวเองเลย นอกจากนี้แล้วไม่เคยเห็นพี่ยีตอบปฎิเสธใครถ้ามาขอความช่วยเหลือ แม้กระทั่งทุกวันนี้ถ้าใครพูดถึงพี่ยี ก็จะพูดว่าเขาไม่เคยเซย์โนกับใครทุกคำที่ขอความช่วยเหลือ พี่ยีจึงเป็นที่รักของทุกคนและเพื่อนบ้าน ในช่วงเรียนมหาลัยฯตอนไปอ่านหนังสือและติวหนังสือกับเพื่อนๆแถวเกษตร มีอยู่คืนหนึ่งที่เม้าอ่านหนังสือจนล้า จึงเอนกายพิงกำแพงพักสายตาพอลืมตาขึ้นมาก็เห็นพระพุทธรูปห่างจากตัวประมาณเมตรครึ่ง ทองสุกปลั่งสักครู่ก็เปลี่ยนไปเป็นโครงกระดูก จะว่าผีอำก็ยังเห็นพัดลมหมุนอยู่ซ้ายมือ ขาเหยียดตรงเห็นเหงื่อตรงปลายหางตา แต่ขยับตัวไม่ได้ ไม่รู้

จะทำอย่างไร จู่ๆก็นึกถึงหลวงปู่แหวน สุจิณโณและเห็นท่าน สักพักโครงกระดูกก็รวมเป็นพระพุทธรูปแล้วก็หายวับไป อีกห้านาทีเพื่อนๆมาชวนเล่นผีถ้วยแก้ว เม้าได้แต่ร้องบรื๋อแล้วก็คลุมโปงนอนทันที หลังจากนั้นสองสามวันมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งกวักมือเรียก แล้วบอกว่าเอ็งเอาพระไปห้อยคอ แล้วท่านก็ยื่นหลวงปู่แหวนรุ่นเราสู้มาให้องค์หนึ่ง จากความคิดว่าพระพุทธอยู่ที่ใจไม่นิยมอิฐปูน ก็เลยมีหลวงปู่แหวนมาคล้องคอด้วยความเคารพและศรัทธา

เรื่องของเม้า

เอ....ที่เขียนมานี่มันสอดคล้องกับหัวข้อของท่านสะมะชัยโยหรือเปล่าว่า "ตามหาแก่นธรรม" วันนี้ขอแค่นี้ก่อนนะครับ - เม้า 10/3/53



วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระพุทธศานสนามหายานกับจีน





พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาใน สุวรรณภูมิส่วนหนึ่งเข้าไปสู่ธิเบต มองโกเลีย จีน เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น อีกส่วนหนึ่งในส่วนที่เมืองไทยรับเข้ามานั้นเป็นพุทธศาสนาหินยานนิกายเถรวาททําไมพระพุทธศาสนาซึ่งมีพระบรมศาสดาองค์เดียวกันแต่กลับมีหลายนิกายหลายลัทธิ ? นี่เป็นเพราะความยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนานั่นเอง เสมือนต้นไม้ใหญ่ย่อมจะแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปทุกทิศทางรวมถึงวัฒนธรรมจารีตประเพณีของกลุ่มชนในแต่ละท้องถิ่นที่รับเอาอิทธิพลพระ พุทธศาสนาเข้าไป ก็มีส่วนอย่างมากในอันที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างหลักให้มีความเหมาะสมกลมกลืนกับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการรับไว้โดยแท้จริงถ้าจะว่าไปแล้ว ทุกศาสนาล้วนเป็นไปในแนวทางนี้ทั้งสิ้น ศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อความศรัทธาจําเป็นต้องมีการตรวจสอบโดยผู้ที่รับเข้ามาหรือผู้ที่มีศรัทธา เป็นการตรวจสอบโดย

ธรรมชาติอีกทางหนึ่ง หากมีศาสนานั้น ๆ มีความมั่นคงเข้มแข็งพอศาสนานั้นหรือความเชื่อนั้นก็จะดํารงตนเองต่อไปอีกยาวนาน จะมั่นคงยั่งยืนอยู่ในกลุ่มชนนั้น ๆ ชั่วลูกชั่วหลานเรียกว่าเป็นการตรวจสอบโดยมวลชนในท้องถิ่นนั้น ๆ ในคัมภีร์พุทธศาสนาก็ยังปรากฏพระพุทธวัจนะทำนองนี้ดังที่ว่า.....พระพุทธศาสนาจะยั่งยืนอยู่ได้ ก็ด้วยพุทธบริษัททั้ง 4 เป็นอาทิ ก็อีกนั่นแหละ ถ้าว่าไปแล้วก็เป็นธรรมดาของทุกศาสนาในโลกความที่ได้ผ่านการตรวจสอบของกาลเวลาและมีอายุการดํารงอยู่อย่างยืนยาวมันก็ต้องมีส่วนที่เป็นหลักเป็นเค้าโครงแท้จริงอยู่บ้างบวกเพิ่มเสริมแต่งเข้าไปบ้างสันนิษฐานเชิงวิชาการซ่อมแซม

เข้าไปบ้างที่ไหน ๆ มันก็มีอรรถกถาจารย์อยู่เกลื่อนปหมด เรื่องเช่นนี้จึงน่าจะเป็นเรื่องปกติธรรมดา บางส่วนก็เป็นแก่น บางส่วนก็เป็นกระพี้ อย่าลืมว่าศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อความศรัทธา ซึ่งเป็นหน้าที่ของจิตใจความคิดนึกโดยตรง เรื่องที่จะให้หลงผิดคิดไปคนละทางก็ย่อมเป็นไปได้ง่าย เหมือนลิงปอกกล้วยเข้าปาก เพราะแต่ละคนแต่ละชนชาติล้วนมีอัตตาเป็นที่ตั้งของตนทั้งสิ้น ยิ่งความเชื่อความศรัทธาแล้ว เป็นสิ่งที่เกิดจินตนาการได้อย่างหลากหลาย พระพุทธศาสนาก็ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งความมีเหตุมีผล เป็นศาสนาในอาณาจักร์แห่งความคิดนึกโดยตรง นี่ก็ยิ่งเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีสําหรับการจุดประกายความคิดนึกที่แตกต่างกันออกไปให้เรืองจรัสขึ้นมาได้ วิธีที่ดีที่สุดสําหรับการรับรู้เรื่องราวของศาสนานั่น

ก็คือ เปิดใจให้กว้างรับฟังไว้ด้วยความเป็นบัณฑิตดังคำพระท่านว่าโยนิโสมนสิการต้องมีทมะในการรับฟังสิ่งที่ต่างไปจากตนโดยการพิจารณาไตร่ตรองจีนเป็นประเทศใหญ่ มีประชากรมากนับเป็นพันล้านพื้นที่กว้างขวางใหญ่โต ประมาณว่าพื้นที่เท่ากับ 1 ใน 15 ของพื้นที่โลก มีประชากรหลายเผ่าหลายพันธ์รวมกัน แต่ที่น่าทึ่งไปกว่านั้นคือมีประวัติศาสาตร์และมีประเพณีัวัฒนธรรมยาวนานนับ เป็นพัน ๆ ปี ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องรุ่นแล้วรุ่นเล่า เต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนเท่ห์ อาณาจักร์อียิปต์ สุเมเรียน กรีก โรมัน แม้มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและยิ่งใหญ่ แต่ได้ขาดช่วงและล่มสลายไปแล้วก็มี บางส่วนก็ถูกกลืนไปผสมอยู่ในชนชาติและเผ่าพันธุ์อื่น ๆ ก็มีแต่จีนยังคงเป็นอาณาจักร์ที่มีวัฒนธรรมสืบต่อกันมายาวนานนับพันปีโดยไม่ขาด ช่วงไม่ขาดตอนและรักษาจารีตความเป็นชนชาติแต่ดั้งเดิมไว้ได้จนทุกวันนี้ แถมยังเพิ่มดินแดนการปกครองเข้าไปอีกในปัจจุบัน เมื่อพุทธศาสนาแผ่เข้าสู่จีน จึงเป็นเรื่องที่น่าติดตามและควรแก่การค้นคว้าศึกษา ความเป็นมาและเป็นไปเหล่านี้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะพุทธศาสนาในจีนนั้น

หลักใหญ่เป็นพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งก็มีหลายลัทธิแตกแขนงสาขาออกไปอีก ด้วยกุศโลบายการเผยแผ่ธรรมของทั้งสองฝ่ายคือ มหายานและหินยาน ทําให้มีข้อแตกต่างกันในรายละเอียดหลายส่วน ต่างฝ่ายต่างก็สร้างจุดเด่นเพื่อดึงมวลชนให้เข้ามาเลื่อมใสศรัทธานิกายของตนให้มากที่สุด แต่โดยปรัชญาธรรมอันเป็นที่สุดแล้ว ก็มีความมุ่งหมายไปในทางเดียวกันคือ สันติสุขแห่งสังคมโลก ปัญหาพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในบ้านเรานั่นเป็นส่วนหนึ่งที่พยายามชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของลัทธิและข้อดีข้อเด่นในแต่ละฝ่ายซึ่งปัญหาลักษณะนี้หากได้ศึกษาลงลึกกันแล้วจะเห็นได้ว่ามันมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลขณะที่พระบรมศาสดาเจ้ายังคงพระชนม์ชีพด้วยซํ้าไม่ใช่ของแปลกใหม่แต่ประการใด จะใหม่ก็แต่วิธีการรูปแบบของปัญหาแต่เนื้อหาสาระของปัญหาเป็นเรื่องเก่าแก่นานมาแล้วเรื่องอย่างนี้จะผิดหรือถูกผมว่ามันอยู่ที่กาลเทศะมากกว่าไม่ใช่เรื่องปรัชญาหรือเชิงอรรถ พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่แผ่นดินจีนราวพุทธศตวรรษที่ 3 โดยประมาณสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพุทธมหายาน ซึ่งต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 7 พุทธ

ศาสนาฝ่ายมหายานก็จําเริญขึ้นอย่างเต็มที่พระพุทธศาสนามหายานมีหลายนิกายแต่ก็สามารถดํารงไว้คู่เคียงกับศาสนาเต๋าซึ่งในต้นศตวรรษที่ 7 นั้นถือเป็นยุคทองของศาสนา(เต๋า)เข้าใจว่าพระพุทธศาสนาที่เผยแผ่เข้าสู่แผ่นดินจีนในครั้งกระนั้นน่าจะมีศาสนาพราหมณ์ปะปนเข้าไปบ้างแล้วครั้นต้องมาอยู่ในดินแดนถิ่นกําเนิดของศาสนา(เต๋า)ก็น่าจะได้รับอิทธิพลของเต๋าปะปนเข้าไปเช่นกันส่วนใหญ่จะสอดแทรกเข้ามาในรูปของพีธีกรรม เช่นเดียวกับพระพุทธศาสนาหินยานฝ่ายเถรวาทในบ้านเรา ซึ่งมีอิทธิพลของพราหมณ์เข้าเจือปนอยู่มาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นไปในรูปของพิธีกรรมถ้าพิจารณาโดยภาพรวมทั้งหมดของฝ่ายมหายานจะพบว่า ประเด็นสําคัญที่แตกต่างกันออกไปมากจากหินยานเถรวาทนั้น มักจะเป็นคติในแง่ปรมัตถธรรม โดยพระพุทธศาสนาหินยานมุ่งเผยแผ่พระสัทธรรมในรูปของ ธรรมาธิษฐาน Expostion in terms of Truth อธิบายธรรมในเชิงซ้อนอิงหลักเหตุและผลตามความเป็นจริง เป็นแนวคิดที่ตรงไปตรงมาในแง่ของเนื้อหาสาระขณะที่พระพุทธศาสนามหายาน มุ่งไปที่แนวทางของ บุคลาธิษฐาน Personification อ้างอิงวัตถุธรรม หรืออาศัยกายภาพทางความคิดเป็นตัวสื่อยกเป็นข้อเปรียบเทียบที่สามารถสัมผัสจับ

ต้องได้ (ทางกายและจิต) เป็นหลัก โดยอิงแนวปรัชญาธรรมและพิธีกรรมจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พระพุทธศาสนามหายานจะมีพระสูตรต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเดินเนื้อหาของเรื่องด้วยปรัชญาธรรมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งง่ายต่อการทําความเข้าใจในเบื้องต้นสําหรับคนหมู่มาก สมกับชื่อของนิกายว่า มหายาน คล้ายเป็นพาหนะขนาดใหญ่ที่สามารถจะเคลื่อนย้ายผู้คนไปได้คราวละมาก ๆเมื่อกล่าวถึงเรื่องราวของพระศาสนา ก็ต้องมีคําศัพท์เฉพาะทาง อ่านยาก ติดเข้ามาเป็นช่วง ๆ ไป ค่อย ๆ อ่าน ค่อย ๆ ทบทวนเอาแล้วกันตรงไหนที่พอจะอธิบายขยายความได้โดยไม่ทําให้เสียเนื้อหาสาระส่วนใหญ่ก็จะพยายามแทรกเอาไว้ตามสถานการณ์คัมภีร์ทางฝ่ายหินยานเถรวาทยึดเอาบาลีเป็นหลักในขณะที่คัมภีร์ฝ่ายมหายานยึดเอาภาษาสันสกฤตเป็นหลักต้องแปลจากทั้งสองภาษามาเป็นไทยแล้วต้องแปลจากไทยเป็นไทยอีกต่อหรือไม่ก็แปลเป็นภาษาอังกฤษเสียก่อนแล้วค่อยย้อนแปลเป็นภาษาไทยอีกทีหลายทอดหลายต่ออย่างนี้นี่ก็เป็น

อีกเหตุหนึ่งที่ทําให้เนื้อหาสาระของแท้ดั้งเดิมเสื่อมคลายไปมาก เป็นเรื่องของภาษาศาสตร์มากกว่าด้วยเหตุนี้ มหายานจึงมีจุดเด่นในการนําเสนอพระสัทธรรมเชิงบุคลาธิษฐานเป็นที่ฮือฮาเฮโลกันไม่น้อยทีเดียวซึ่งเชื่อว่าน่าจะถูกจริตคนไทยมากที่สุด โดยเฉพาะพระสูตรบทหนึ่งของ มหายานลัทธิสุขาวดี ซึ่งเข้าไปมีบทบาทในแผ่นดินจีนมากที่สุดในราวพุทธศตวรรษที่ 8 - 9 ซึ่งตรงกับช่วงสมัย (สามก๊ก) ตอนปลายที่แผ่นดินจีนระสํ่าระสายเข้าขั้นกลียุคนั่นคือพระคัมภีร์ อมิตายุสูตร หรืออมิตายุรธยานสูตร เรียกได้อีกหลายชื่อที่ออกไปในทํานองนี้ อันพรรณนาความว่าด้วยพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งตรงนี้เป็นส่วนสําคัญของเรื่องที่กําลังเขียนถึงด้วย แล้วจะเกี่ยวโยงไปถึงอัลบั้มซีดี บทเพลงบรรเลงสวด ที่ได้แนะนํากันไว้ก่อนหน้าแล้วในอมิตายุสูตรของพระพุทธศาสนามหายาน ปรากฏความในตอนหนึ่งว่าสมัยหนึ่งเมื่อครั้งพระบรมศาสดาเจ้าประทับอยู่ ณ. เชตะวันวนารามซึ่งอนาถปิณฑิกเศรษฐีในกรุงสาวัตถีได้น้อมเกล้า

น้อมกระหม่อมถวายเป็นพุทธบูชา พร้อมด้วยสงฆ์สาวกประมาณ 1,250 พระองค์ ล้วนเป็นอรหันตขีณาสพ มีอาทิคือ พระสารีบุตรเถรเจ้า พระมหาโมคคัลลาน พระเรวัต พระจุฬปันถก พระนันท พระอานนัท พระราหุล พระควัมปติ พระปิณโฑลภารัทวาช พระกาฬุทายี พระมหากัปปิน พระวักกุลและพระอนิรุทธ เป็นต้น อีกทั้งพระมหาสาวกทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ พระมหาสัตว์เช่นพระมัฌชุศรีกุมารภูต พระอชิตโพธิสัตว์ พระคันธหัสดินโพธิสัตว์ พระนิตโยทยุกโพธิสัตว์ อีกทั้งพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายและเทพบุตรต่าง ๆ เป็นจํานวนมากมีท้าวสักกะเทวราชและท้าวสหัมปติพรหม เป็นต้น เข้าใจว่ารจนาจารย์ มีเจตนาจะยกอ้างเอาพระนามเหล่านี้ เป็นเสมือนหนึ่งสักขีพยาน เพื่อจะทําให้พุทธนิทานมหายานมีนํ้าหนักเพื่อ

ประโยชน์แห่งความเชื่อถือหรือน่าเชื่อถือ ด้วยมีบุคคลในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยพระพุทธองค์ซึ่งหลายคัมภีร์ฝ่ายพุทธศาสนาให้การยอมรับ ปรากฏอยู่ในพระสูตรนี้ด้วย สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสแก่พระสารีบุตรเถรเจ้าว่าจากที่นี้ไป 100,000 โยชน์ เบื้องปัจฉิมทิศ ทิศตะวันตก มีโลกธาตุแห่งหนึ่งชื่อ ว่า สุขาวดีในที่นั้นมีพระตถาคตอรหัตสัมมา สัมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระนามว่า อมิตยุส อมิตาภะพุทธเจ้า - อมิตายุร อมิตพุทธเจ้า - อานันทพุทธเจ้า เสด็จสถิตเสวยสุขารมณ์และแสดงพระธรรมอยู่ในบัดนี้ดูก่อนสารีบุตรไฉนโลกธาตุนี้จึงได้ชื่อว่า สุขาวดีเล่า ?ก็เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายในที่นั้นหมายถึงดินแดนสุขาวดีพุทธเกษตรมณฑล - Sukavadee Buddha Land ไม่มีทุกข์กายหรือทุกข์ใจ มีแต่ความสุขทุกอย่างเหลือประมาณเหตุนั้นจึงชื่อว่า สุขาวดี ดูก่อนสารีบุตร เธอเคยนึกหรือไม่ว่า เหตุไฉนพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จึงทรงพระนามว่าอมิตาภะ ดูก่อนสารีบุตรอันว่ารัศมีแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ย่อมส่องไปไม่มีที่สุดทั่ว

ทิศานุทิศ เหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อมิตาภะ อนึ่ง สารีบุตร ชนมายุแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับทั้งบริวารของพระองค์นั้นไม่มีกําหนดขีดคั่นชั่วกัลปาวสานเหตุนั้นจึงทรงพระนามว่า อมิตาภะ คําว่าอมิตา อมิตะ อมิตาภะหรืออมิตายุร หรืออมตะ แปลว่าหาที่สุดมิได้ไม่มีต้นไม่มีท่ามกลางและไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอนันตกาล มีอายุยืนยาวหาที่สุดมิได้มีพระรัศมีแผ่ไปไม่รู้จบสิ้นพระรูปของพระพุทธเจ้าองค์นี้จึงมีเครื่องหมายสวัสติกะอยู่ตรงกลางพระอุระเสมอซึ่งตรงกับอักษรจีนอ่านว่า ว่าน แปลว่าหมื่น หมายถึงมีอายุนับเป็นหมื่น ๆ ปีนั่นเอง ความในพระสูตรนี้มีอีกมากยกมาเฉพาะส่วนที่เป็นสาระของเรื่องที่จะดําเนินไปเท่านั้นนอกจากพระบรมศาสดาเจ้าได้แสดงธรรมถึงองค์พระอมิตาภะพุทธเจ้าแล้วยังได้สาธยายถึงดินแดนแห่งสุขาวดีหรือพุทธเกษตรมณฑลในแง่ภูมิศาสตร์ รัฐศาสตร์ปรัชญาสังคมและความงดงามร่มรื่นเป็นความมหัศจรรย์อีกมากมายสุดพรรณนารวมความถึงได้ทรงจําแนกพระพุทธเจ้าอีกจํานวนมาก

ซึ่งปรากฏอยู่ในโลกธาตุในทิศต่าง ๆ พระพุทธศาสนาหินยานฝ่ายเถรวาท มีคติเรื่องโลกธาตุเอาไว้เพียง 31 โลกธาตุเท่านั้น นั่นคือการจําแนกสวรรค์เรียงลําดับชั้นจากโลกมนุษย์ขึ้นไปเช่น สวรรค์ที่ต่อแดนกับมนุษย์โลกคือ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิก มนุษย์โลก - เทวโลก - พรหมโลก ถือว่าติดกับโลกมนุษย์มากที่สุด แล้วก็เรียงลําดับโลกธาตุขึ้นไปเป็นสเต็ปและไกลออกไปจนสุดขอบเขตชนิดที่ไม่มีกลางวันกลางคืนพ้นรัศมีจากระบบสุริยจักรวาล แสงดวงอาทิตย์สาดส่องไปไม่ถึงสุดเขตแดนสุญญากาศนั่นคือสวรรค์ชั้น เนวสัญญานาสัญญยตน เป็นที่สถิตของ อรูปพรหม ในทางเต๋าเชื่อกันว่าองค์เต่าหมู่เทียนจุน ก็ประทับอยู่ที่สวรรค์ชั้นนี้ แต่ฝ่ายมหายานนั้นมีโลกธาตุหรือโลกอื่นๆนอกจากโลกมนุษย์อีกมากซึ่งลําดับในชั้นต้นนั้นจากคัมภีร์หลายฝ่ายก็สอดคล้องกัน จะแตกต่างกันไปบ้างก็ในช่วงปลายซึ่งพระศากยมุนี

พุทธเจ้าก็ทรงลําดับเอาไว้ในพระสูตร ฝ่ายมหายาน ที่ว่านี้เช่นกัน นอกจากความเชื่อซึ่งเป็นคติของพุทธศาสนามหายานในเรื่องโลกธาตุแห่งหนึ่งคือ แดนสุขาวดีพุทธเกษตรมณฑลแล้ว ลัทธิตรีกายที่มีคติว่าพระพุทธเจ้ามี 3 กาย ก็มีบทบาทอย่างมากในนิกายนี้เช่นกัน แต่มีประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นประเด็นที่โดดเด่นมาก ๆ สำหรับพุทธนิกายมหายานซึ่งทำให้นิกายนี้ต่างไปจากหินยานเถรวาทอยู่ไม่น้อยนอกจากสองสามประเด็นที่ว่ามาแล้วประเด็นที่ว่านี้ก็คือ เรื่องราวของ พระโพธิสัตว์ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทไม่ค่อยจะได้พบคำนี้บ่อยนักแต่ถ้าเป็นคัมภีร์หรือพระสูตรต่าง ๆ ของมหายานที่มีมากมายนั้นพระโพธิสัตว์กลาย เป็นอีกจุดเด่นหนึ่งและมหายานให้ความสำคัญมากทีเดียว

 บทความโดย..........................ธนกฤต เสรีรักษ์

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ไฮกุ - 0.1

Simple, Free Image and File Hosting at MediaFire



สระเก่าแก่สระหนึ่ง กบตัวหนึ่งกระโดดลงสระจ๋อม ! บนคาคบไม้แห้ง อีกาหยุดบินร่อนลงเกาะ ฤดูใบไม้ร่วงอันมืดมิด เราจ้องมองดู แม้ที่ม้าหลายตัว เข้านี้เต็มด้วยหิมะ กล่าวกันว่าการจับคุณสมบัติที่แท้จริงหรือผลของไฮกุแต่ละบท จะต้องอ่านมันซ้ำ ๆ กันหลายเที่ยวหรือบางทีมากจนนับไม่ถ้วน ด้วยการ สัมผัสอันลึกซึ้งซึ่งมาจากการหยั่งรู้ หรือการหยั่งเห็น สิ่งนี้คล้ายกับ ความสามารถที่ก่อให้เกิดความอัศจรรย์ใจ

ความสามารถนี้ เหมือนการ เปิดแห่งจิต ซึ่งอยู่เหนือความคิด หรือการรับรู้ทางใจ ( ไม่ใช่การรับรู้ทาง ประสาทสัมผัส ) เป็นบางสิ่งที่กว้างขวางซึ่งเกิดขึ้นจากรูปแบบของ ไฮกุดังนั้นมันจึงผลิตความสมดุลหรือชุดแห่งความสมดุลที่ไวต่อการรับรู้ แห่งความคิด สมมุติว่า แทนที่เราจะมองผ่านหน้าต่างแล้วพูดว่า "ฝนกำลังตกอีกแล้วเช้านี้ "

 .............เรากลับพูดว่า " ฝนกำลังตก อีกแล้ว เช้านี้ " พูดเช่นนี้จะทำให้รู้สึกแตกต่างกันหรือไม่ Mr. R. H. Blyth ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับไฮกุไว้ ๔ ชุด ชึ่งประกอบ ด้วยข้อมูลมากมายและตรงจุด ซึ่งถือว่าเป็นชุดที่ดีชุดหนึ่งของเซนที่อยู่ ในวรรณคดีภาษาอังกฤษ




วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

九皇齋節 - 心经

101106-IMG0056
IMG-00000095606

PA16018-7

IMGFT0170017


王菲法门寺诵 心经

觀自在菩薩,行深般若波羅蜜多時, 照見五蘊皆空,度一切苦厄。舍利子, 色不異空,空不異色,色即是空,空即是色, 受想行識亦復如是。舍利子是諸法空相, 不生不滅,不垢不淨,不增不減,是故空中無色, 無受想行識,無眼耳鼻舌身意,無色身香味觸法, 無眼界,乃至無意識界,無無明,亦無無明盡, 乃至無老死,亦無老死盡,無苦集滅道,無智亦無得, 以無所得故,菩提薩埵。依般若波羅蜜多故, 心無罣礙,無罣礙故,無有恐怖,遠離顛倒夢想,究竟涅槃。 三世諸佛,依般若波羅蜜多故,得阿耨多羅三藐三菩提, 故知般若波羅蜜多是大神咒,是大明咒,是無上咒, 是無等等咒,能除一切苦,真實不虛,故說般若波羅多咒, 即說咒曰:「揭諦,揭諦,波羅揭諦,波羅僧揭諦,菩提薩婆訶。」







วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Life




อย่าให้ชีวิตมีเพียง I wish
ผลสำรวจของพยาบาลพบว่าคนไข้ที่ใกล้เสียชีวิต จะพูดเหมือนๆกันอยู่ 5 ประโยค I wish that I had let myself be happier. ฉันอยากทำให้ตัวเองมีความสุขมากกว่านี้ I wish I’d had the courage to live a life true to myself, not the life others expected of me. ฉันอยากมีความกล้าพอที่จะมีชีวิตของตัวเอง ไม่ใช่ใช้ชีวิตตามความคาดหวังของคนอื่น I wish I didn’t work so hard. ฉันอยากที่จะไม่ต้องทำงานมากขนาดนั้น I wish I’d had the courage to express my feelings. ฉันอยากมีความกล้าพอที่จะแสดงออกถึงความรู้สึก I wish I had stayed in touch with my friends. ฉันอยากติดต่อกับเพื่อน คนนั้นมีชีวิตเฉลี่ยแค่สองหมื่นกว่าวัน... ไม่มีใครรู้ว่าจะมีพรุ่งนี้ได้อีกกี่วัน เวลามีเหลือกันเท่าไหร่ จะมีลมหายใจอีกกี่ครั้ง เรายังมีความฝัน ความอยาก ถ้ามีชีวิตแล้วไม่ได้ใช้....คงได้แค่ I wish จิตฝัน โลกความคิด จิตสร้าง
เรื่อง ฟูเฟื่องฝัน แล้วยึดมั่น ผูกพัน ฝันหวั่นไหว พยับแดด รุ้งเรืองรอง มองไกลๆ หวังจะได้ พอเข้าใกล้ กลับไม่จริง Dreaming Mind Mirages seem glorious and real But on close inspection there is nothing there พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส "ในนิกายเซนมีคำกล่าวว่า จุดเริ่มแรกของการเติบโตไปในศาสนมรรคคือ การเชื่อมั่นว่าเราทุกคนล้วนมี หรือครอบครองศักยภาพแห่งการเป็นพุทธะ หรือบุคคลที่พร้อมตื่นจากอวิชชาอยู่ในตัว ความเชื่อมั่นเช่นนั้นสำคัญยิ่งกว่าการรู้คำสอนมากมายเสียอีก ถ้าเราเชื่อว่าเรามีธรรมชาติที่บริสุทธิ์งดงาม ความผิดพลาดทั้งหลายล้วนเริ่มต้นใหม่ได้ สิ่งปฏิกูลเกาะเกี่ยวล้วนถูกชำระทิ้งได้ บทเรียนเช่นนี้ถูกสอนผ่านในเวลาอันสั้นให้ผมได้ประจักษ์..." อนุสรณ์ ติปยานนท์ มีดประจำตัว ใน
อดีตผมจะแบกมีดชุดหนึ่งกลับบ้านในยามค่ำ เป็นกฎเกณฑ์สำคัญข้อหนึ่งของการเป็นพ่อครัว เราไม่ใช้มีดของใครถ้าไม่จำเป็น และเราก็ไม่ยอมให้ใครใช้มีดของเราถ้าไม่จำเป็นเช่นกัน มีดเป็นสิ่งของประจำตัว และสำหรับคนที่ต้องประกอบอาหารเป็นอาจิณ มีดเป็นยิ่งกว่าคนรัก ความคมของมันซื่อสัตย์ต่อเราทุกครั้งในยามที่พึ่งพา และแม้อาจมีบางครั้งที่เราอาจเผลอไผลถูกมันบาดแทง รอยแผลที่เกิดจากมันก็ลบเลือนได้เร็ว ไม่รั้งอยู่นานเหมือนแผลที่เกิดจากคนรักและความรัก ในอดีตตอนนั้น ผมอาศัยอยู่แถบห้องเช่าย่านอีสต์ลอนดอน ที่อุดมไปด้วยคนตะวันออกกลางหลากประเทศ ว่าไปแล้วมันก็เป็นถิ่นที่ไม่น่าอยู่อย่างยิ่งในเมืองใหญ่แห่งนั้น แต่ด้วยค่าเช่าที่แสนถูก และการเดินทางที่สะดวกง่ายดาย ทำให้ผมปฏิเสธมันได้ยาก ประชากรหลายคนในแถบนั้น คงรู้สึกหวาดหวั่นที่ต้องเดินทางกลับบ้านในยามดึก โดยเฉพาะเมื่อมีข่าวปล้นจี้อยู่เนืองๆ บนชั้นสองของรถประจำทางเที่ยวกลางคืน แต่ผมไม่เคยรู้สึกเช่นนั้นเลย
โดยเฉพาะยามที่ผมแบกกระเป๋ามีดที่ข้างในบรรจุมีดคู่ใจสามเล่มอันได้แก่ มีดทำครัว (cooking knife) มีดแล่ (fillet knife) และมีดปอก (pairing knife) หลังทำความสะอาดครัวแล้ว มีดทั้งสามจะถูกผมลับอย่างคมกริบ และถูกเก็บอย่างทะนุถนอมลงในกระเป๋า หลายครั้งความรู้สึกของการแบกมีดติดตัวไปอย่างเดียวดายในเมืองใหญ่ อดทำให้ผมนึกถึงตัวละครในนวนิยายกำลังภายในเรื่องหนึ่งของโกวเล้งไม่ได้ คนคนหนึ่งแบกหีบบรรจุอาวุธที่น่ากลัวชนิดหนึ่ง เดินเข้าสู่นครเชี่ยงอันอย่างเงียบงัน มันเป็นความรู้สึกที่โดดเดี่ยวของคนที่ไร้ราก แต่ก็มีความมั่นใจอันแปลกประหลาดแฝงเร้นอยู่ ถึงแม้ปัจจุบันนี้สิ่งที่ผมนำพาติดตัวจะเปลี่ยนจากมีดมาเป็นปากกา ผมก็ยังจำความรู้สึกเช่นนั้นได้ ความรู้สึกของการเริ่มต้นเก็บออมเงิน เพื่อซื้อมีดชั้นดีหนึ่งเล่ม ความรู้สึกของการฝนคมมีดกับหินลับในยามค่ำ ความรู้สึกที่มีต่อเนื้อมีดเมื่อ
มันแทรกผ่านเข้าไปในเนื้อสัตว์ที่จับต้อง มันเป็นความรู้สึกของการเชื่อมั่นในบางสิ่งที่อยู่นอกตัวเรา แต่ใช้การได้จริง เป็นความรู้สึกที่ไม่มีความกังขา ไม่มีความลังเลสงสัยใดเลย เมื่อเช้าสองวันที่ผ่านมา ผมลุกจากโต๊ะเขียนหนังสือที่บ้านพักในโรงพยาบาลเกาะยาวของ น.พ.มารุต สลักเพชร (หมอหนุ่มที่ไม่ยอมเปิดคลินิกนอกเวลาเพื่อรักษาคนไข้ แต่พึงใจเปิดคลินิกส่วนตัว เพื่อรักษาจินตนาการในงานเขียนในชื่อ นกปักษนาวิน) เพื่อหาของมีคมบางอย่างเปิดซองจดหมาย ผมพบมีดทำครัวเล่มหนึ่งถูกทิ้งให้สนิมเกาะอยู่ในครัว มันแลดูหมดสภาพความคมมานานนับศตวรรษ อาจเป็นมีดของใครบางคนที่ถูกทอดทิ้งจนลืม ผมหยิบมันขึ้นดูและตัดสินใจฝนมันกับหินลับว่า มันจะกลับสู่คุณสมบัติเดิมได้หรือ ไม่ช้านานมีดเล่มนั้นเริ่มอวดความคมของมัน ผมออกไปที่ตลาดสด ซื้อปลาทะเลมาหนึ่งตัว และอีกหนึ่งชั่วโมงหลังจากนั้นทั้งผมและหมอมารุต เราก็ได้รับประทานเนื้อปลาที่สดหวานพร้อมกัน ด้วยมีดที่ผมเชื่อมั่นว่ามันต้องยังคงแฝงคุณลักษณ์แห่งความเฉียบคมอยู่เหมือนมีดประจำตัวในอดีตของผม ในนิกายเซนมีคำกล่าวว่า จุดเริ่มแรกของการเติบโตไป ในศาสนมรรคคือ การเชื่อมั่นว่า.. เราทุกคนล้วนมีหรือครอบครองศักยภาพแห่งการเป็นพุทธะ หรือบุคคลที่ พร้อมตื่นจากอวิชชาอยู่ในตัว ความเชื่อมั่นเช่นนั้นสำคัญยิ่งกว่าการรู้คำสอนมากมายเสียอีก ถ้าเราเชื่อว่าเรามีธรรมชาติที่บริสุทธิ์งดงาม ความผิดพลาดทั้งหลายล้วนเริ่มต้นใหม่ได้ สิ่งปฏิกูลเกาะเกี่ยว ล้วนถูกชำระทิ้งได้ บทเรียนเช่นนี้ถูกสอนผ่านในเวลาอันสั้นให้ผมได้ประจักษ์ และแน่ล่ะมันเป็นบทเรียนที่ยากจะลืม.. ในชีวิตหนึ่งของเรา ที่หาความเชื่อมั่นได้น้อยเต็มที