วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2557

วัญจกธรรม(ธรรมเป็นเครื่องหลอกลวง)38 ประการ

EImgBy.jpg





















๑. ความพอใจในกาม ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นอปฏิกูลสัญญา
๒. ความพยาบาท ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นปฏิกูลสัญญา
๓. ถีนมิทธะ (ความท้อถอย ง่วงเหงา) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นสมาธิ
๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นการปรารภความเพียร
๕. กุกกุจจะ (ความรำคาญใจ) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา
๖. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีการพิจารณาทั้งสองฝ่าย
๗. ความหลงพร้อม (ไม่รู้) ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่น่า ปรารภนาและไม่น่าปรารถนา
๘. มานะ (ความสำคัญตน) ย่อมลวง โดยความไม่ดูหมิ่นตน เหมือนกับว่าเป็น ผู้รู้จักตน
๙. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ย่อมลวง ด้วยการถือเอาเหตุอันสมควร เหมือน กับว่ามีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
๑๐. ความเป็นผู้ไม่ถึงความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็น ปราศจากความกำหนัดยินดี
๑๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การประกอบเนืองๆ ซึ่งความหมกมุ่นในกาม) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเสพในสิ่งที่
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้
๑๒. ความเป็นผู้มีปกติไม่แบ่งปัน ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์
๑๓. มิจฉาอาชีวะ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติแบ่งปัน
๑๔. ความเป็นผู้มีปกติไม่สงเคราะห์ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยการ ไม่คลุกคลี
๑๕. ความคลุกคลีที่ไม่สมควร ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติสงเคราะห์
๑๖. ปิสุณาวาจา (กล่าวส่อเสียด) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้กล่าวคำจริง
๑๗. ความเป็นผู้ใคร่ในสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ไม่กล่าวส่อเสียด
๑๘. ความเป็นผู้ทำการประจบ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้กล่าวถ้อยคำอัน เป็นที่รัก
๑๙. ความเป็นผู้ไม่ชื่นชมยินดี (กับผู้อื่น) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้พูดพอประมาณ
๒๐. มายาและสาไถย ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มีปกติชื่นชมยินดี (กับผู้อื่น)
๒๑. ผรุสวาจา (กล่าวคำหยาบ) ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้พูดข่ม
๒๒. ความเป็นผู้เพ่งโทษผู้อื่น ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ติเตียนบาป
๒๓. ความตระหนี่ตระกูล ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีความประพฤติเกื้อกูลต่อตระกูล
๒๔. ความตระหนี่อาวาส ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่เพื่อให้อาวาสตั้งอยู่ตลอดกาลนาน
๒๕. ความตระหนี่ธรรม ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นการรักษาพระธรรมไว้ให้ดำรงมั่น
๒๖. ความเป็นผู้ยินดีในการพูดคุย ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ยินดียิ่งในการแสดงธรรม
๒๗. ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ ไม่กล่าวคำหยาบและกระทำการอนุเคราะห์แก่หมู่คณะ
๒๘. ความเป็นผู้ยินดีในการงาน ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้ใคร่ซึ่งบุญ
๒๙. ความเร่าร้อนแห่งจิต ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นการสลดสังเวช
๓๐. ความเป็นผู้ไม่พิจารณาอย่างรอบคอบ ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้มากไปด้วยศรัทธา
๓๑. ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
๓๒. ความเป็นผู้ไม่รับเอาคำพร่ำสอนของครูทั้งหลายโดยเคารพ ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีตนเป็นใหญ่
๓๓. ความไม่เคารพในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย ย่อมลวงเหมือน กับว่ามีธรรมเป็นใหญ่
๓๔. ความดูหมิ่นตนและดูหมิ่นธรรม ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีโลกเป็นใหญ่
๓๕. ราคะ (ความยินดีติดข้อง) ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีเมตตา
๓๖. ความเศร้าโศก ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีความกรุณา
๓๗. ความร่าเริง ย่อมลวง เหมือนกับว่ามีเป็นผู้อยู่ด้วยมุทิตา
๓๘. ความเป็นผู้ทอดทิ้งฉันทะ (ความพอใจ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยอุเบกขา 



เรื่องเหนือสามัญวิสัยอิทธิป... by เจริญ เจริญสุข on Scribd



วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

อัตตตา และ ธรรมกาย จากมุมมอง พุทธศาสนานิกายวัชรยานตอนที่ 1




คำอธิบายในเรื่องอัตตาและธรรมกาย จากมุมมองพุทธศาสนานิกายวัชรยาน หมู่นี้มีการพูดเรื่องอัตตา อนัตตากันบ่อย จนถึงกับบางสำนักอวดอ้าง ว่าพระนิพพานเป็นอัตตาก็มี ในที่นี้ จักไม่ขอไปแสดงวิวาทะกะใคร จะขอพิจารณาถึงเนื้อหาสาระ หรือแก่นของพระพุทธศาสนาในเรื่องอริสัจสี่เสียก่อน ว่าทำไมพระพุทธ องค์จึงทรงเน้นในเรื่องนี้ คำตอบก็คือมนุษย์ต้องการความสุข และต้องการเอาชนะความทุกข์โดย เราต้องรู้ว่าสุขกับทุกข์เกี่ยวข้องกันอย่างไรและความทุกข์เกิดขึ้นได้อย่าง ไร กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คืออริยสัจสี่ชี้แจงแสดงให้เห็นเหตุปัจจัยที่โยงความ ทุกข์ไปถึงความสุข อริยสัจหรือความจริงที่แท้ อธิบายจำเพาะเจาะจงไปถึงการต่อเนื่องกัน ของสรรพสิ่งอย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องอ้างอิงถึงพระผู้สร้าง หรือ อำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ทหัศจรรย์จากภายนอก ที่อ้างว่าควบคุมวิถีชีวิต อริยสัจมักแสดงออกเป็นดังข้อความสี่ข้อคือ
๑ ) ให้รู้เท่าทันความจริงในเรื่องของความทุกข์
๒ ) ให้รู้เท่าทันที่มาของความทุกข์
๓ ) ดับทุกข์เสียได้
๔ ) ด้วยมรรควิธีอันแยบคาย ทุกคนที่ต้องการความสุข และต้องการเอาชนะความทุกข์ ย่อมอาจประ พฤติปฏิบัติให้ลุล่วงไปได้ การที่จะปฏิบัติตนให้ล่วงความทุกข์เสียได้ จำต้องเข้าใจในเรื่องตัวหรือ อัตตา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือบุคคลที่ได้รับความทุกข์คือตัวเรา และคนที่ ต้องการเอาชนะความทุกข์คือตัวเรา ยังเหตุที่ก่อให้เกิดความทุกข์ก็อยู่ใน ตัวเรา เพราะฉะนั้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเวไนยนิกรในชมภูทวีป เมื่อสองพันห้าร้อยปีมานี้ พุทธทัศนะที่เกี่ยวกับตัวเรา หรือตัวตน จึงต่าง จากเจ้าสำนักอื่น ๆ ในยุคนั้นสมัยนั้นทั้งสิ้น กล่าวคือ พุทธศาสนาปฏิเสธ อัตตาหรือตัวตนที่คงที่ถาวรอย่างไม่แปรเปลี่ยน ดังที่เรียกกันว่าจิตบ้าง วิญญาณบ้าง บ้างก็ว่าจิตหรือวิญญาณนี้เวียนว่ายตายเกิด ข้ามภพข้ามชาติ เป็นตัวกำหนดการกระทำทั้งหมด อย่างมีสภาพที่เหนือร่างกาย นอกวงการของพุทธศาสนา ถือว่าอัตตาหรือจิตหรือวิญญาณเป็นตัวตนที่ อยู่เหนือนามและรูป หรืออยู่พ้นไปจากร่างกาย ( รูป ) ความรู้สึก ( เวทนา )

ความจำได้หมายรู้ ( สัญญา ) ตราบจนกระบวนและอารมณ์ต่าง ๆ (สังขาร) ตลอดจนการตัดสินใจประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ( วิญญาณ ) ทุกลัทธินิกายในพุทธศาสนาปฏิเสธเรื่องอัตตา หรือตัวตนที่คงสภาพอย่าง ถาวร อยู่นอกเหนือนามและรูป แต่บางนิกายในพุทธศาสนาก็มีทัศนะแผก แตกต่างกันไปในเรื่องตัวตน ซึ่งแฝงเข้ามาปนอยู่ในนามและรูปอย่างไร เช่น บางนิกายถือว่าปัญจขันธ์ทั้งหมดนี้แลคืออัตตา ตราบที่มีอุปาทานยึดมั่นถือ มั่นอยู่ในตัวตน ส่วนบางนิกายนั้นถือว่าอัตตาแนบสนิทอยู่กับนาม เป็นต่าง หากออกไปจากรูป และบางนิกายถือว่าวิญญาณขันธ์ตัวนั้นแลคืออัตตา ( ตราบที่มีอุปาทานติดอยู่ ) ดังใช้คำว่า อาลัยวิญญาณ แทนคำว่า อัตตา ทางด้านลัทธินิกายปราสังฆิกะ มาธยมิกะ ซึ่งพวกธิเบตถือว่า

เป็นคำสั่งสอน หลัก ถือว่ามีอัตตาเป็นผู้เสวยผลหรือเป็นตัวที่ได้ประสบการณ์จากขันธ์ห้า แต่ก็พูดไว้ได้ไม่ชัดเจนว่าอัตตาแฝงอยู่ในขันธ์ห้าตรงไหน อย่างไรบางพวก จึงบอกว่าอัตตาอยู่นอกเหนือขันธ์ห้าออกไป แต่ก็ไม่อาจหาอัตตาได้พบ จึงจำต้องปฏิเสธอัตตาที่ว่านี้ กล่าวคืออัตตาเกิดมีขึ้น เพราะการติดยึดใน ขันธ์ห้านั่นเอง อัตตาจึงเป็นเพียงสิ่งสมมุติ แล้วยึดถือเอาเป็นเรา เป็นของ เรา เป็นตัวกู ของกู ท่านนาคารชุน ซึ่งเป็นศาสดา เจ้าลัทธิปราสังฆิกะ มาธยมิกะ รจนาไว้ใน คัมภีร์รัตนาวลี ของท่านว่า บุคคลคนหนึ่งนั้น หาใช่ธาตุทั้งหกที่ก่อให้เกิด เป็นคนไม่ คือไม่ใช่ธาตุดิน ไม่ใช่ธาตุน้ำ ไม่ใช่ธาตุไฟ ไม่ใช่ธาตุลม ฯลฯ และจะว่าธาตุทั้งหมดนี้ร่วมกันเป็นบุคคลหรือตัวตน ก็ไม่ใช่อีก พร้อมกัน นั้นบุคคลหรือตัวตนก็ไม่ได้ปรากฏนอกเหนือไปจากธาตุทั้งหก กล่าวคือ บุคคลคือตัวตนไม่ใช่ธาตุทั้งหมดที่รวมตัวกันขึ้น และไม่ใช่ธาตุหนึ่งใดใน ธาตุทั้งหกนั้น ธาตุทุกชนิดเอามาแยะแยะได้เป็นส่วน ๆ โดยไม่อาจหาตัว ตนหรืออัตตาได้

พบ ก็เมื่อธรรมชาติของอัตตาหรือตัวตนหาไม่ได้ในธาตุ หนึ่งธาตุใด จึงเหลือไว้ให้สมมุติได้เพียงว่ามีอัตตามีขึ้น เพราะความไปติด ยึด หรือสมมุติให้มีให้เป็น เพื่อความสะดวกในการเรียกขาน แล้วไปติดยึด ในสมมุตินั้น ๆ ดังกับว่ามันเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา ถ้าจะถามว่าเหตุใดพุทธศาสนาจึงเน้นในเรื่องแยกแยะอะไร ๆ ให้เห็นถึง ความไม่มีตัวตน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เข้าใจว่าตัวตนนั้นเป็นเจ้าการหรือตัวตนที่ ได้รับปะสบการณ์ ข้อนี้นับว่าสำคัญ โดยขอให้เราพิจารณาประสบการณ์ ของเรา เช่นความรู้สึกเศร้าเกิดขึ้น เพราะประสบการณ์บางอย่าง แล้วตัณ หาหรือความต้องการบางอย่างย่อมเกิดขึ้นโดยมโนวิญญาณ หรือในความ คิดอันหยาบหรือละเอียด จนเกิดการตัดสินใจทำการนั้น ๆ กล่าวอีกนัย หนึ่งก็คือตัณหาหรือความต้องการผลักดันให้กลายเป็นคำพูดหรือการกระ ทำ ทั้งยังเกิดการยึดมั่นถือมั่นว่า เรา เป็นคนพูด เรา เป็น

คนทำ เรา หรือ กู หรือ อัตตา หรือ ตัวตน ที่ว่านี้เกิดขึ้นจากการยึดมั่นถือมั่น และลึก ๆ ลงไปแล้ว ก่อให้เกิดความทุกข์ ยิ่งยึดมั่นถือมั่นมากเท่าไร ก็ทุกข์มากเท่า นั้น เช่นถ้าอะไรมาขัดกับการยึดมั่นถือมั่นในตัวเรา เราก็โกรธ จนอาจเป็น คนโทสจริตอย่างรุนแรงเอาเลยก็ได้ อุบายในทางพุทธศาสนานั้น สอนให้เรารู้เท่าทันว่า ถ้าไปติดยึดในเรื่อง ตัว ตน ตัวเรา ตัวกู แล้วผลย่อมเป็นไปในทางความทุกข์ เช่นโทสคติ ดังกล่าว มาแล้วนี้ จะแก้ไขให้ความคิดเป็นกุศลได้หรือไม่ คำตอบก็คือถ้า ตัวกู หรือ ตัวตน เป็นใหญ่เป็นประธาน อย่างมีการติดยึด มากเพียงไร ความทุกข์ก็ทับถมมากขึ้นเพียงนั้น

เมื่อวิเคราะห์เจาะลึกลงไป ก็จะเห็นได้ชัดว่า การติดยึดในตัวตนหรือใน ตัวกู ( อัตตา ) จนกลายเป็นความสำคัญยิ่งขึ้นเท่าไร ก็จะให้โทษยิ่งขึ้นเท่า นั้น หากหันมาพิจารณาตามกฏเกณฑ์ของปัจจยาการในทางพุทธศาสนา โดยไม่ติดยึดที่ตัวตนหรืออัตตาแล้งไซร้ ก็จะเห็นว่าอะไร ๆ เป็นผลพวง ซึ่งกันและกัน ตามเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตนหนึ่งใดมาคอยบงการได้ ถ้าตราความข้อนี้ไม่ได้ เมื่อต้องการความสุข เพื่อหลีกเลี่ยงหรือเอาชนะ ความทุกข์ ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่าผลของกิจกรรมต่าง ๆ นั้นมาแต่เจตนา แม้การกระทำบางครั้งจะไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อน หากเกิดขึ้นอย่างอย่างทันที ทันใดแสดงว่าจิตไม่ได้เป็นกุศลหรืออกุศล ท่านว่าเป็นอัพยากฤต ไม่ก่อ ให้เกิดสุขหรือทุกข์ ดังที่ท่านใช้คำว่า อทุกขมสุข แท้ที่จริง ถ้ามองลึกลงไป จะไม่เห็นข้อชี้ชัดลงไปในทางที่แตกต่างกันระ หว่างการกระทำนัยบวกกับนัยลบ แต่เพราะเราต้องการความสุข คิดว่า ความสุขเป็นนัยบวก จึงไปกำหนดว่าการกระทำใด ๆ และความจงใจใด ๆ ที่มุ่งความสุข

ย่อมเป็นไปตามนัยบวก ในขณะที่อะไร ๆ ที่เป็นตัวก่อความ ทุกข์ย่อมเป็นนัยลบ การจะถามหาตัวตนหรือตัวกูหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น เพราะถ้าติดยึดในตัว ตนหรือตัวกูเสียแล้ว ตัวตนหรือตัวกูย่อมเกิดขึ้น เพราะอุปาทานแท้ ๆ จน เชื่อว่าตัวกูนี้แลคือผู้เสพสุข หรือเสพทุกข์ แต่ขอย้ำว่าถ้าพิจารณาให้ชัด ๆ ตัวกูนี้แลก่อให้เกิดความยุ่งยากมากเสียจริง ๆ ทั้งนี้เพราะมันเกิดจากขบวน การ จนเป็นความรู้สึกที่เราเสกสรรปั้นขึ้นจนไปยึดติดมันเข้า ไม่แต่กับตัว เราหรือตัวกูเท่านั้น หากมันขยายไปยังเพื่อนเราหรือศัตรูของเราเข้าอีกด้วย หากมองในแง่ดี การติดยึดในตัวเรา ก็ช่วยให้เกิดกำลังใจในการเอาชนะ อุปสรรคต่าง ๆ ก็ได้ นี่หมายความว่าถ้ารู้จักวางท่าทีที่ถูกต้อง เอาสมมติ ในเรื่องตัวตนมาใช้ แต่ต้องรู้จักใช้ อย่างไม่ติดยึด เพราะการใช้อุบายวิธีให้เกิดกำลังใจ ให้เกิดความเพียร ให้เกิดความเชื่อมั่น ในตน การคำนึงถึงตัวตน อย่างรู้เท่าทัน ก็นับว่าเป็นประโยชน์อยู่ แต่ถ้า ไม่เข้าใจความข้อนี้ การกระทำด้วยกำลังใจก็ดี ด้วยความเพียรก็ดี ย่อมเป็น ไปอย่างเห็นแก่ตัวได้ง่าย ที่ร้ายกว่านั้น ก็ตรงที่คิดจนติดยึดว่า
( ๑ ) ตัวตนนั้นมีอยู่จริง
( ๒ ) ตัวตนนั้นไม่มีอยู่จริง
( ๓ ) ตัวตนนั้นมีจริงหรือไม่ ก็ไม่แน่ใจ ขอย้ำว่าเจตนาเป็นปัจจัยสำคัญในการนำไปสู่ประสบการณ์ทางด้านการเสพ สุขเพื่อปลอดพ้นจากทุกข์ แล้วอะไรเล่าคือตัวกำหนดของเจตนาทั้งนี้อาจมี ร่างกายเป็นอิทธิพลที่สำคัญมาเกี่ยวข้องด้วย เพราะรูปสัมพันธ์กับนาม หรือ ความคิดความอ่านย่อมสัมพันธ์กับกาย ก็ในเมื่อเจตนาเป็นตัวการที่สำคัญในการกำหนดธรรมชาติของประสบการณ์ ฉะนั้นทัศนคติหรือทิฐิของเราจึงเป็นแรงกระตุ้นทางเจตนาของเรา เช่นการ พยายามเอาชนะพลังในทางลบ ในทางความทุกข์ ย่อมมาจากสภาวะจิตของ เรา จากสภาวะจิตนี้เองที่เราอาจเอาชนะความทุกข์ หรือธรรมชาติของจิตใจ ซึ่งเป็นปัจจยาการในทางจิตใจนี้ จึงถือว่ามีความสำคัญยิ่งนัก เวลาเราพูดถึงการเอาชนะความทุกข์ หรือ

ความชั่วร้ายต่าง ๆ นั้น นั่นก็คือ ความมุ่งประสงค์พระโพธิญาณ หรือการตรัสรู้ ที่หลายคนเห็นว่าเป็นอุดม คติที่ไกลเกินไป แต่ถ้าพูดกันให้ไกล้ตัวเราเข้ามา เราอาจฝึกประสบการณ์ ของเรา ด้วยการฝึกจิต ให้รู้จักลดความโลภ โกรธ หลง ลงได้ยิ่งลดลงได้ เพียงไร เราก็ทดสอบประสบการณ์ของเราได้เพียงนั้น เช่นเริ่มจากอวิชชา อันเป็นต้นของความหลงผิดในกระบวนการคิดของเรา ถ้าเราเริ่มศึกษาจน ได้ประสบการณ์ขึ้นเรื่อย ๆ เราก็ลดความหลงลงได้เรื่อย ๆ นั่นแล การเปลี่ยนแปลงจิตให้ลดความโลภ โกรธ หลง ลงนั้น ต้องเริ่มจากการรู้ จักจิตใจเสียก่อน ดังนิกายไวกาสิกะ ในพระพุทธศาสนา เสนอทฤษฎีที่ว่า การรับรู้นั้นเปล่าเปลือยหรือว่างเปล่า กล่าวคือไม่มีตัวกลางระหว่างการรับ รู้และวัตถุที่รับรู้ และการรับรู้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะตัวเชื่อมโยงแต่อย่างใด ในขณะที่นิกายเสาตรานิกะ และอีกสองนิกายในทางฝ่าย

มหายาน ถือว่ามี ตัวเชื่อมโยงทางด้านการรับรู้ ที่เรียกว่า อาการ ขอย้ำอีกครั้งว่าถ้าต้องการเอาชนะความทุกข์ ต้องเข้าใจให้ชัดว่าตัวตนหรือ ตัวเราที่สมมติขึ้นนั้น ไม่มีการแบ่งอย่างชัดแจ้งในข้อที่ว่า นี้เป็นฝ่ายกุศล นั้น เป็นฝ่ายอกุศล หากขอให้ตราไว้ว่า ถ้าคิดในเรื่องตัวเรามากเท่าไร ปัจจยาการ ในทางความคิดและจิตใจ รวมไปถึงเจตนาต่าง ๆ ก็ย่อมนำไปสู่ทุกข์ทั้งนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการติดยึดในเรื่องของตัวเรา ย่อมเป็นไปในทาง อกุศลยิ่งกว่าอะไรอื่น คราวนี้ ขอให้มาพิจารณาดูว่าตัวตนที่ว่านี้เป็นไปตามสภาวสัตย์หรือไม่ แท้ ที่จริงจิตที่เป็นกุศลย่อมเป็นไปตามสภาวสัตย์ หรือถ้าจะฝึกจิตให้เป็นกุศล ไปจนถึงขั้นโลกุตตระ หรือฝึกจิตให้เป็นกุศล ให้ไปได้ไกลเท่าที่จะไปได้ กุศลจิตนั้น ๆ ย่อมเป็นไปตามสภาว

สัตย์ ฉะนั้นขอให้เรากลับมาวิเคราะห์ รูปแบบในทางความเข้าใจทั้งสองประการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเกี่ยวกับตัว ตน ว่าอย่างไหนเป็นไปตามสภาวสัตย์หรือไม่ ข้อที่ ๑ ที่ว่าตัวตนนั้นมีอยู่จริง ความข้อนี้เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าจิตใจนั้น เป็นไปตามสภาวสัตย์ โดยเราอาจถือว่าตนรู้ได้ว่าสิ่งที่เราเรียกว่าตัวตนนั้น มีอยู่จริงละหรือ กล่าวคือสิ่งที่เรียกว่า ฉัน ข้าพเจ้า กู อาตมา นั้นเป็นจริง ตามสภาวสัตย์หรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามสภาวสัตย์ คำว่า ฉัน ฯลฯ ก็เป็น เพียงสิ่งซึ่งสมมติขึ้นมาเรียกขานกันเท่านั้นเอง ฉะนั้น คำว่า ฉัน ฯลฯ จึง ไม่มีจริงตามสภาวสัตย์ เพราะสภาวสัตย์ในทางพุทธศาสนานั้นคือศูนยตา พร้อมกันนั้นก็ต้องขอบอกให้ทราบว่ามีกายหนึ่งในพุทธศาสนาที่ถือว่าตัว ตนหรืออัตตานั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวิญญาณในขันธ์ ๕ ในขณะที่นิกาย ปราสังฆิกะ ถือว่าตัวตนหรืออัตตานั้นเกิดขึ้นจากสิ่งที่รวมขึ้นจากนามรูป หรือขันธ์ทั้งห้า ทุกนิกายในทางพุทธศาสนาถือว่าตัวตนหรืออัตตาเป็นเรื่อง ของสมมติสัตย์ ไม่ใช่ปรมัตถสัตย์ จากเหตุผลในข้อที่ ๑ ซึ่งสรุปว่าตัวตนนั้นไม่มีอยู่จริง ย่อมยืนยันความจริง ในข้อที่ ๒ ดังได้กล่าวมาแล้วแต่

แรก ในส่วนข้อ ๑ ที่ว่าตัวตนจะมีอยู่จริง หรือไม่ยังไม่แน่ใจนั้น ท่านสอนให้ใช้วิธีภาวนาหรือตรวจสอบประสบการณ์ จนรู้ได้ว่าอัตตาหรือตัวตนนั้นเป็นหรือไม่เป็นไปตามสภาวสัตย์ การที่จะสรุปลงได้ดังนี้ ต้องกลับมาตีประเด็นที่นามกับรูป หรือขันธ์ ๕ รวม ทั้งวิญญาณขันธ์ กล่าวคือถ้าไม่พิจารณาดูโดยแยบคาย ดูจะคล้ายกับว่าวิญ ญาณขันธ์นั้นเป็นตัวตน อย่างคงทนถาวร ดังพวกพรหมณ์เยกว่าเป็นอาตมัน ซึ่งถือว่าเป็นมิจฉาทิฐิที่ร้ายแรง เพราะวิญญาณขันธ์เองมีความละเอียดอ่อน ลุ่มลึกอย่างที่สุด กล่าวคือจิตใจที่หยาบกระด้างขึ้นอยู่กับร่างกายอย่างใกล้ชิด ถ้ามันสมองทำงาน จิตใจก็ทำงานตามมันสมอง ถ้ามันสมองหยุดทำงาน จิตใจในขั้นที่หยาบก็หยุดทำงานตามไปด้วย ความข้อนี้พุทธศาสนาไม่ปฏิเสธ ทฤษฎีของนักวิชาการ โดยเฉพาะด้านจิตแพทย์ พุทธศาสนาต่างไปจากจิตแพทย์แบบตะวันตกตรงที่หัวใจมีพลังอย่างสำคัญ ยิ่ง พลังทางจิตที่ละเอียดอ่อนรวมตัวกันที่หทัยวัตถุ พระอรรถกถาจารย์ฝ่าย ธิเบตยืนยัน

ว่า หทัยวัตถุ อยู่ตรงที่หัวใจของมนุษย์นั้นเอง แต่ทะไลลามะเอง ไม่แน่พระทัยว่า หทัยวัตถุ อยู่ตรงไหนแน่ หากแต่ถ้าเดินลมปราณไปทางจิต สิกขาอย่างลึกซึ้งแล้วจะได้ประสบการณ์ว่าพลังทางจิตอยู่ทางแถว ๆ หัวใจ นั้นเอง อย่างน้อยก็แสดงว่าหทัยวัตถุเกี่ยวข้องอย่างไกล้ชิดกับหัวใจ แม้จะ ไม่อาจบอกได้อย่างชัดแจ้งว่าหทัยวัตถุอยู่ตรงไหน จะอย่างไรก็ตาม อายุรเวท แบบธิเบตชี้ชัดลงไปทางสรีรวิทยาว่ารูปเกี่ยวโยงไปยังนามอย่างไร ดังทางเดิน ของลมหายใจนั้นเป็นเรื่องของปราณหรือชีวิตโดยทางเดินลม

นั้นอยู่ในร่างกาย มีจุดศูนย์กลางต่าง ๆ ในร่างกาย มีจุด หรือ นาทิ และช่องต่าง ๆ ที่ผู้ปฏิบัติ ธรรมนำมาชี้แจงแสดงได้ว่าเวลาหลับลมปราณเปลี่ยนสภาพไปจากตอนตื่น อย่างไร เวลาฝันลมปราณก็ผันไปอีกกะแสหนึ่ง ยิ่งตอนตายด้วยแล้ว เกิด แสงสว่างกระจ่างขึ้นมาอย่างน่าสนใจยิ่งนัก ( ดู เตรียมตัวตายอย่างมีสติ ที่ ข้าพเจ้าเรียบเรียงมาจาก คัมภีร์มรณศาสตร์ของธิเบต และดู ประตูสู่สภาวะ ใหม่ คำสอนธิเบตเพื่อเตรียมตัวตายกับช่วยเหลือผู้ไกล้ตาย ที่พระไพศาล วิสาโล แปล ) ....NEXT