วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ไม้เท้ายอดกตัญญู(พิมพ์สดจากหนังสือ)

XSM_10046299DSCF735-1



ในสมัยพุทธกาล นานกว่า 2,500 ปี มาแล้ว มีชายชราคนหนึ่ง หน้าตาหม่นหมอง น่าสงสาร แขนขามีแต่หนังหุ้มกระดูก เสื้อผ้าก็เก่าขาดกระรุ่งกระริ่ง ตาก็บอด ถือไม้เท้าเดินคลำทางเปะปะไปตามถนนสะพายซอเก่า ๆ ไว้ที่บ่าขวา มือขวาถือไม้เท้า มือซ้ายถือกะลาสำหรับขอทานชายชราคนนี้ เดิมทีแกเป็นคนร่ำรวย มีลูกถึง 7 คน แกเลี้ยงดูส่งเสียลูกให้มีการศึกษาดีได้แต่งงานมีครอบครัวแล้ว แกจึงได้แบ่งสมบัติให้ลูกทุก ๆ คนแต่ลูกของแกไม่มีใครรับเลี้ยงดูพ่อแม่ เพราะกลัวจะเป็นภาระ ต่างก็แยกกันไปอยู่คนละทิศละทาง จึงทำให้ต้องอยู่กันเพียงสองคนตายาย หลายปีผ่านไปไม่เคย มีใครห่วงใยมาเยี่ยมพ่อแม่เลยคนน้องก็คิดว่าพี่ ๆ คงไปดูแล้วส่วนพี่ ๆ ก็คิดว่าน้องๆคงดูแลแล้ว นี่แหละที่โบราณว่าลูกสิบคนพ่อแม่เลี้ยงได้พ่อ - แม่เพียงสองคน แต่ลูกสิบคนเลี้ยงท่านไม่ได้พ่อ - แม่ผู้อาภัพทั้งสอง อยู่กินกันไปอย่างว้าเหว่ ต่อมาบ้านของแกถูกไฟไหม้ ทุกอย่างวอดวายไปในกองเพลิง รวมทั้งเมียของแกด้วย ชายชราเสียใจมาก ต้องเที่ยวเร่ร่อนขอทาน โดยสีซอขับบรรเลงเพลงไปตามที่ต่าง ๆ จนกระทั่งวันหนึ่งได้ไปพบ พระผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลกท่านจึงคิดอุบายให้ โดยแต่งเพลงให้บทหนึ่งให้แกไปขับร้องตามชุมชนต่าง ๆ สมัยนั้นพระพุทะเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยุ่ 2 ผัวเมียชราผู้นี้เป็นพรามห์ ต่อมาบ้านของแก่ถุกไฟไหม้ เมียของแกก็ตายในกองเพลิงนั้นด้วย ชายชรารู้สึกเสียใจมาก ะรรมดาเพื่อนบ้านนั้นเขาให้กินก็แค่ชั่วครั้ง - ชั่วคราว จะให้กินตลอดไปนั้นไม่มี แกก็เกรงใจเขาจึงเที่ยวเร่ร่อนขอทาน โดยสีซอบรรเลงเพลงไปตาม 4 แยกข้างถนน ข้างตลาดจนวันหนึ่งได้พบพระพุทะเจ้าเล่าเรื่องให้พระองค์ทรงทราบ พระผู้เป็นที่พึงของสรรพสัตว์จึงคิดอุบายให้โดยแต่งเป็นเพลงบทหนึ่ง ให้แกท่องแล้วขับร้องไปตามชุมชนต่าง ๆ ในคัมภีร์พระไตรปิฏกนั้นเป็นเพลงภาษา บาลี

ทันโฑ วะ กิระ เสยโย ยัญเจ ปุตตา อะนัสสะวา
จัณฑัมปิ โคณัง วาระติ
อะ เถ จัณฑัมปิ กุกกุรัง
อันธะกาเล ปุเร โติ
คัมภีรเร คาธะเมธะติ
ทันฑัสสะ อะนุภาเวนะ ชิลิตวา ปะฏิติฏฐะติสรุปแล้วแกพึ่งลูกไม่ได้ แกพึ่งไม่เท้าแทนลูก ลุกอตัญญูมีค่าเท่าไม้เท้าหงิก ๆ งอก ๆ ไม่ได้ เมื่อเราอ่านภาษาบาลีแล้วเราไม่รู้สึกว่ามันไพเราะ เพราะว่ามันคนละภาษาจึงขอยกร้อยกรองมาเป็นภาาาไทยดังต่อไปนี้

โอ้อนิจจาตัว เรายามเฒ่าแล้ว
พวกลุกแก้วทอดทิ้งไม่เหลียวหา
หูก็หนวก - ตาบอดซมซานมา
ถือกะลาซีซอขอเขากิน
มีไม้เท้าอันเดียวเที่ยว เร่ร่อน
ง่วงก็นอนข้างถนนบนกรวดหิน
เป็นเป็นทุกข์โอดครางกลาง ฝุ่นดิน
ยามจะกินอาหารเศษทุเรศทรวง
ยามซวนเซจะพลาดล้มฟาดพื้น
มีไม้เท้ายันยืนได้ยึดหน่วง
ฉันซูบผอมตรอมใจตาลึกกรวง
ไม่มีลูก คอยห่วงใยเอื้ออารี
โอ้มีลูก - ลูกนั้นเนรคุณ
ไม่เกื้อหนุน ทอดทิ้งให้หมองศรี
ยามฉันถูกห่านไก่ไล่จิกตี
ไม้เท้านี้ยัง ป้องภัยนไล่สัตว์พาล
ถูกวัวดุฟู - ฟุ่ ขู่จะขวิด
มีไม้เท้า เป็นมิตรคอยสงสาร
ใช้กวัดแกว่งคอยรักษาเป็นปราการ
ยามข้ามธาร ไม้เท้านำฉันไป
เมื่อเดินทางไม้เท้าบอกวิถี
ไม้เท้านี้ดีกว่า ลูกเป็นไหน ไหน
คนเศษคนอกตัญญูไร้น้ำใจ
มันทำได้ใจหินสิ้น เมตตา

โอ้อนิจจาตัว เรายามเฒ่าแล้ว
พวกลุกแก้วทอดทิ้งไม่เหลียวหา
หูก็หนวก - ตาบอดซมซานมา
ถือกะลาซีซอขอเขากิน
มีไม้เท้าอันเดียวเที่ยว เร่ร่อน
ง่วงก็นอนข้างถนนบนกรวดหิน
เป็นเป็นทุกข์โอดครางกลาง ฝุ่นดิน
ยามจะกินอาหารเศษทุเรศทรวง
ยามซวนเซจะพลาดล้มฟาดพื้น
มี ไม้เท้ายันยืนได้ยึดหน่วง
ฉันซูบผอมตรอมใจตาลึกกรวง
ไม่มีลูก คอยห่วงใยเอื้ออารี
โอ้มีลูก - ลูกนั้นเนรคุณ
ไม่เกื้อหนุน ทอดทิ้งให้หมองศรี
ยามฉันถูกห่านไก่ไล่จิกตี
ไม้เท้านี้ยัง ป้องภัยนไล่สัตว์พาล
ถูกวัวดุฟู - ฟุ่ ขู่จะขวิด
มีไม้เท้า เป็นมิตรคอยสงสาร
ใช้กวัดแกว่งคอยรักษาเป็นปราการ
ยามข้ามธาร ไม้เท้านำฉันไป
เมื่อเดินทางไม้เท้าบอกวิถี
ไม้เท้านี้ดีกว่า ลูกเป็นไหน ไหน
คนเศษคนอกตัญญูไร้น้ำใจ
มันทำได้ใจหินสิ้น เมตตา
ลองอ่านและร้องกลับไปกลับมา มีเสียงซอเศร้า ๆ กินใจขับคลอดูเถิด ชายชราคนนั้นนั่งลงตาม 4 แยก สีซอร้องเพลงนี้ไปเรื่อย ๆ ด้วยเสียงแหบหวนสะอื้นไห้ ทำให้ผู้คนทั้งหลายที่ได้ฟังเกิดความสงสารอย่างจับใจ หยิบเงินและอาหารมาบริจาคช่วยเหลือแก และต่างนำไปวิจารณ์สาปแช่งลูกเนรคุณเหล่านั้น
จนกระทั่งข่าวนี้แพร่ไปถึง ลูก ๆ ของแก ทำให้ลูก ๆ นั้นได้สำนึกพากันมารับพ่อแม่ไปเลี้ยงดู ทั้งนี้เพราะคนอินเดียในสมัยนั้นเขาถือมากในการปรนนิบัติบิดา - มารดาเขาบูชาบิดา - มารดาเสมือนเทพเจ้า เขาเชื่อฟังบิดา - มารดาไม่กล้าเถียง ไม่กล้าดื้อรั้นในสิ่งที่พ่อ - แม่ห้า
มปรามเมื่อถูกสังคมรุมประนามเช่นนั้นพวกลูก ๆ ก็คิดได้ สำนึกผิด พากันมารับเอาำพ่อไปเลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่
จนกระทั่งข่าวนี้แพร่ไปถึง ลูก ๆ ของแก ทำให้ลูก ๆ นั้นได้สำนึกพากันมารับพ่อแม่ไปเลี้ยงดู ทั้งนี้เพราะคนอินเดียในสมัยนั้นเขาถือมากในการปรนนิบัติบิดา - มารดาเขาบูชาบิดา - มารดาเสมือนเทพเจ้า เขาเชื่อฟังบิดา - มารดาไม่กล้าเถียง ไม่กล้าดื้อรั้นในสิ่งที่พ่อ - แม่ห้ามปรามเมื่อถูกสังคมรุมประนามเช่นนั้นพวกลูก ๆ ก็คิดได้ สำนึกผิด พากันมารับเอาำพ่อไปเลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่


จบนิทานอิงหลักธรรม ไม้เท้ายอดกตัญญู ไว้เพียงเท้านี้

มัชฌิมประภาสปุญสถาน


ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำนี้จงเป็นปัจจัย เกื้อหนุนสรรพชีวิตทั้งหลายให้ได้บำเพ็ญอนุตรวิถี กลับจิตแปรใจ ได้คืนจิตเดิม มีความสงบเย็นใจกาย ปราศจากเสียซึ่งสรรพกำทุกข์ ปลอดพ้นจากภัยเวร สงครามข้าวยาก ด้วยเดชะบุญนี้ จงช่วยค้ำชูบิดา - มารดา ครูบาอาจารย์ - ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท - มิตรรัก ศัตรูหมู่มาร สรรพเจ้ากรรมนายเวร เทวาทุกชั้นฟ้า อารักษ์ทั่วชั้นดิน เหล่าภูติ นาคา - นาคี เหล่าวิญญา - หมู่เปรต - อสูรกายเหล่าสัตว์ใด ๆ จงเป็นผู้ได้รับอานิสงค์เดชะแห่งผลบุญนี้ท่วนทั่วทุกคนเทอญ


IMG_00000000045900

ไม่มีความคิดเห็น: