หัวข้อธรรม...อย่ายอมตกอยู่ในอำนาจของจิต มา จิตฺตสฺส วสํ คมิ(คุตตาเถรีคาถา ๒๖/๔๖๖)
เป็นที่แน่นอนว่าพวกเรามีภาระหน้าที่กันทุกคน และไม่ใช่สิ่งที่ถูกสั่งให้ทำหรือสิ่งที่เราได้รับมอบหมายมาแต่เป็นสิ่งที่ตัวเราเองเลือกที่จะทำและดังนั้นดำเนินไปตามจิตใจที่เป็นอิสระของเราโดยเพียรพยายามเพื่อบรรลุภาระหน้าที่ดังกล่าวขอให้มี ชัยชนะ ในชีวิตของเราไม่มีความจริงใดที่พูดได้เสียงดังไปกว่าการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในชีวิตของท่านไม่มีข้อพิสูจน์ใดที่ทรงพลังไปกว่าการเปลี่ยนแปลง ชะตากรรมของเรา
ภาระหน้าที่ด้านการงาน(ดำรงชีวิต)ภาระหน้าที่ทำนุบำรุงบิดา - มารดา ภาระหน้าที่ทาง ครอบครัว(การเลี้ยงดูบุตร ภรรยา)อีกประการหนึ่งถ้าจำไม่ผิดหลวงพ่อ ปัญญา นันทภิกขุ ได้เมตตาสั่งสอนไว้ว่าธรรมะ คือหน้าที่ หน้าที่ คือ ธรรมมะ ท่านพุทธทาส อินทปัญโญ ก็ได้เมตตาสั่งสอนไว้เกี่ยวกับหน้าที่เพราะฉะนั้นมีข้อคิดอยู่ว่าการดำเนินชีวิตประจำวันต้องสอดคล้องกับ หลักธรรม
การงานคือการปฏิบัติธรรม
อันการงาน คือคุณค่า ของมนุษย์
ของมีเกียรติ สูงสุด อย่าสงสัย
ถ้าสนุก ด้วยการงาน เบิกบานใจ
ไม่เท่าไร ได้รู้ธรรม ฉ่ำซึ้งจริง
เพราะการงาน เป็นตัวการ ประพฤติธรรม
กุศลกรรม กล้ำปนมา มีค่ายิ่ง
ถ้าจะเปรียบ ก็เปรียบคน ฉลาดยิง
นัดเดียววิ่ง เก็บนก หลายพกมา
คือการงาน นั้นต้องทำ ด้วยสติ
มีสมาธิ ขันติ มีอุตสาห์
มีสัจจะ มีทมะ มีปัญญา
มีศรัทธา และกล้าหาญ รักงานจริง......พุทธทาส ภิกขุ
ไม่ห่างจิตปฏิบัติธรรมไม่ห่างกายเมื่อจิตกับกายไม่ไกลจากธรรม - ธรรมะจึงอยู่ในชีวิตประจำวัน ธรรมะกับชีวิตจะต้องดำเนินควบคู่กันไป เราไม่อาจดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่มีธรรมะ หาไม่แล้ว ชีวิตของเราก็ไม่แตกต่างอะไรกับซากศพที่เดินได้เราไม่อาจแยกธรรมะออกจากชีวิตของเราได้ หาไม่แล้วชีวิตของเราก็จะไร้ซึ่งคุณค่า สาระแลแก่นสารบทสรุปที่อยุ่ในตอนท้ายของเรื่อง มีไว้เพื่อช่วยทำความเข้าใจในสาระของเรื่องเท่านั้น มิได้ต้องการจำกัดขอบเขตของความลึกซึ้งในการทำความถึงแต่อย่างใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น